"วัดร่องขุ่น" ออกแบบและสร้างโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ วัดนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก ว่าที่นี่คือที่ไหน ยังคงเปิดรอนักท่องเที่ยวและผู้ที่อยากชมศิลปะที่ยิ่งใหญ่ ให้แวะเวียนเข้ามาชม มีโซนจัดแสดงผลงานศิลปะของ อ.เฉลิมชัย ไว้ด้วย สินค้าที่ระลึกมีจำหน่าย แกก็เดินอยู่แถวนั้นแหละ...

    ที่จอดรถที่วัดมีทางด้านหน้าและด้านหลัง แต่ด้านหน้าจะมีร้านค้ามีของกิน ด้านหลังที่จอดรถกว้างขวางแต่ไม่มีไรขาย

     ประวัติคงหาอ่านเอาได้ที่ https://th.wikipedia.org/wiki/...

     แม้กระทั่งนกสียังกลมกลืนกับที่นี่เลย...555

     อลังการงานสร้างจริงๆ อีกอย่างคนสวนที่นี่ขยันจัด ใบไม้ตกไม่ได้เลย เดินกวาดเรียบ 

ตรงจุดนี้มีใบโพธิ์เงินให้ได้ซื้อไว้เขียนแล้วแขวนหรือเก็บไว้เป็นที่ระลึกก็ได้ ใบละ30บาท 

ปั้มนูนเป็นลวดลาย และมีข้อความว่า วัดร่องขุ่น เชียงราย รวย รวย รวย มีปากกาวางบนโต๊ะไว้ให้เขียน จะเขียนชื่อ ตัวเอง คนรัก ญาติ เขียนอวยพร เขียนอะไรลงไปก็ได้

      เมื่อเขียนเสร็จแล้วก็ไปแขวนไว้ที่ต้นโพธิ์ ซึ่งพอเต็มที่แขวน เจ้าหน้าที่ก็เอาไปจัดเรียงเป็นต้นใหญ่ หรือไม่ก็เอาไปแขวนด้านบนศีรษะตามทางเดิน... 

บนทางเดิน แหงนหน้าขึ้นไปจะพบกับใบโพธิ์เงินที่นักท่องเที่ยวเขียนแล้วแขวนไว้ อัดแน่นเต็มพื้นที่กันเลยทีเดียว

     ที่นั่งพักคอยก็ยังมีมุมถ่ายรูป เป็นภาพเด็กโผล่ทางหน้าต่าง  เด็กสองคนนี้คือใครหนอ??

     ตอนแรกคิดว่าที่นี้มีแต่สีขาว ที่ไหนได้มีสีทองด้วย  อ้อ...อาคารนี้เป็นห้องน้ำนั่นเอง 

     ห้องน้ำยังสวยเลย...

เมรุเผาศพ สร้างไว้เผาเฉพาะคณะศรัทธาวัดร่องขุ่น เป็นเมรุที่เคยเผาแม่อาจารย์เฉลิมชัย ที่นี่สร้างขึ้นเพื่อคณะะลูกศิษย์ของอาจารย์และตัวอาจารย์เองเท่านั้น ไม่ได้เปิดให้คนนอกมาเผาที่นี่

    กระถางปลูกเคราฤาษี ยังอาร์ทเลย....    

       ส่วนตรงนี้ไม่ค่อยมีใครเดินมา สีทองอร่ามงามตา อยู่บนเกาะกลางน้ำตัดกับท้องฟ้า... 

                                       หอพระพิฆเนศ และ ห้องนิทรรศการ

ด้านในเป็นห้องนิทรรศการ จัดแสดงเกี่ยวกับ พระพิฆเนศ ทั้งหมด ของอาจารย์แกสร้างด้วยความศรัทธา มีของที่ระลึกจำหน่ายด้วย เดินเข้าทางสะพานด้านข้างนะ

     เห็นมั้ยว่าวัดนี้ มีสองสีแล้ว สีขาว กับสีทอง สวยงามและสะอาดมาก ภายในวัดนี้ก็ไม่ได้มีอาหารของกินขายนะ ไม่มีถังขยะเลย รึเราไม่เห็นก็ไม่แน่ใจ ใช้เวลาไม่นานมาก คงไม่ทันหิว


วัดต่อมา ก็คือ "วัดร่องเสือเต้น"

     วัดร่องเสือเต้น สร้างขึ้นด้วยศิลปะแบบไทยประยุกต์ จากฝีมือการรังสรรค์ของ นายพุทธา กาบแก้ว หรือ สล่านก ศิลปินท้องถิ่นชาวเชียงราย ซึ่งเคยเป็นลูกศิษย์ของ อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์

      แค่ทางเข้าด้านหน้าก็ดึงดูดความสนใจได้พอควรแล้ว 

   ขับรถมาจอดด้านในได้เลย วงเวียนก็สร้างอย่างวิจิตรบรรจง จัดสร้างเป็นพระอุปคุต พระอัครสาวกของพระพุทธเจ้า

     พญานาคที่อยู่หน้าวิหารได้รับอิทธิพลจากศิลปะของอาจารย์ ถวัลย์ ดัชนี ที่เน้นลักษณะโครงสร้างที่เข้มแข็ง เขี้ยวเล็บแหลมคมดูน่าเกรงขาม แต่มีความอ่อนช้อยในแบบล้านนา

ด้านหลังวิหารมีพระพุทธรูปสีขาวปางห้ามญาติองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่

ซุ้มประตูด้านหลังกำลังดำเนินการสร้างและลงสีอยู่...  แผงล็อตเตอรี่และห้องน้ำก็อยู่แถวๆนี้เช่นกัน


ว่ากันว่าเมื่อก่อนที่นี่เป็นวัดร้างและเสือก็มีชุกชุมเป็นทางเดินร่องเสือผ่าน เลยเป็นที่มาของชื่อวัดร่องเสือเต้น...

   ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรัชมงคลบดีตรีโลกนาถ รวมทั้งบริเวณพระเศียรก็ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก รวมทั้งยังได้รับพระราชทานนาม รัชมงคลบดีตรีโลกนาถ ที่หมายความว่า “พระพุทธเจ้าทรงเป็นมงคลเจ้าในความเป็นราชา เป็นที่พึ่งในสามโลก”

   และตรงที่จอดรถยังมี พระพุทธธรรมจักร องค์ที่ 74 ด้วย

   เป็นอีกหนึ่งวัดท่องเที่ยว ที่เดินทางมาง่ายๆ และทำให้จังหวัดเชียงรายดูมีที่ท่องเที่ยวมากขึ้น อาจใช้เวลาไม่มากมายนัก เข้าไปกราบสักการะพระพุทธรูป มาชมความสวยงามทางศิลปะวัตถุ หรือแค่มาถ่ายรูปเช็คอิน ก็สวยงามแล้ว ในวัดยังมีร้านค้าเชิงพุทธพาณิชย์ ให้ทำบุญต่างๆนาๆ หรือเลือกซื้อวัตถุมงคล ตามความเชื่อความศรัทธาของแต่ละบุคคล  ส่วนหน้าวัดมีร้านอาหารหลายร้านตั้งอยู่เช่นกัน...

     ทั้งสองวัดนี้ล้วนมีความงดงามจากการสร้างสรรค์ของศิลปินชาวเชียงรายทั้งคู่ สร้างแล้วเสร็จจนเป็นแหล่งดึงดูดให้คนทั้งประเทศและชาวต่างชาติเข้ามาชมสถานที่แห่งนี้ กำลังเงินและกำลังศรัทธาอย่างเดียวคงไม่เพียงพอที่จะทำให้งานใหญ่อย่างนี้เสร็จลงได้ คงต้องร่วมมือร่วมใจกันทุกสรรพกำลัง ทุกฝ่ายที่มี ร่วมด้วยช่วยกันทำให้บ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง มีชื่อเสียงขึ้นมาได้ นับถือฝีมือจริงๆ

พิกัด วัดร่องขุ่น https://goo.gl/maps/tkHYABhBuv...

พิกัด วัดร่องเสือเต้น https://goo.gl/maps/J6Ugne85g1...


+++++ฝากเพจไว้ให้ติดตามกันด้วย เผื่อมีอะไรดีๆที่คุณสนใจ+++++

https://www.facebook.com/travel1night2days


Sikhorn Palanan

 วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 00.02 น.

ความคิดเห็น