ยินดีที่ได้พบกันเขาเหมน
ก่อนอื่นอยากแนะนำชื่อทริปนี้ "ชอบพาตัวเองไปลำบาก"
สมาชิกรวม 17 คน ที่ร่วมเดินทางมาเจอกันที่น้ำตกคลองจัง
เป็นทริปป่าใต้ในช่วงเทศกาลหยุดยาวสงกรานต์
...
บางคนเลือกที่จะใช้เวลากลับบ้านไปพบเจอญาติ
แต่ก็มีคนบางกลุ่มเลือกที่จะใช้เวลาอยู่กับป่า
ทริปนี้เป็นทริปแรกที่ได้มีโอกาสมาเดินป่าใต้ แบบป่าใต้จริงๆ
เป็นป่าใต้ช่วงหน้าร้อน ที่มีทั้งฝน ทั้งหนาว ทั้งหมอก
จะสนุกครบรสแค่ไหนตามไปติดตามกันต่อนะ
นัดรวมพลกันเวลา 07.30 น. ที่น้ำตกคลองจัง
และรอเจ้าหน้าที่เพื่อนำรถ 4WD ขับไปยังเนิน 499
ใช้เวลานั่งรถประมาณ 15 นาที
เบอร์ติดต่อเจ้าหน้าที่ 089-289-8324 (พี่ถา)
ค่าใช้จ่าย
เจ้าหน้าที่ ลูกหาบ รถไปเนิน 499 รวม 1,000 นิดๆ/คน
(เฉลี่ยจาก 17 คน)
พอนั่งรถมาถึงเนิน 499 ก่อนจะเริ่มเดินก็ถ่ายรูปทีมเป็นการเช็คอินกันหน่อย
เพียงเริ่มเดิน..ความชันก็ท้าทายเราตั้งแต่ก้าวแรกเลย
ถ้าพูดถึงระดับความยากสำหรับมือใหม่ ก็มีแค่ความชันที่ดูเป็นอุปสรรค
และน้ำหนักของในกระเป๋าที่แบกบนหลังนี่แหละ
ความชันน้อยกว่าเขาหลวงสุโขทัยอยู่นิดหน่อย
แต่ทางราบแทบไม่มีเลย
ข้างบนไม่มีสัญญานโทรศัพท์นะไม่ว่าจะค่ายเขียว ฟ้า หรือส้ม
หากจะติดต่อธุระอะไรให้จัดการตั้งแต่ข้างล่างเลย
ทุกครั้งที่พาตัวเองมาลำบาก ก็มักจะมีคำถามกับตัวเองอยู่เสมอว่า
ช้านน..มาทำอะไรที่นี่? ทำไมชอบพาตัวเองมาลำบากจัง?
...
และทุกครั้งก็ไม่เคยได้คำตอบในรูปแบบของคำพูด
แต่เป็นคำตอบที่อยู่ในรูปแบบของรอยยิ้มเวลาเจอเพื่อนๆ
หรือแม้แต่บทสนทนากับคนแปลกหน้าที่ได้พูดคุยกันในตอนนั่งล้อมกองไฟ
หรือน้ำใจจากเพื่อนร่วมทริปที่คอยช่วยเหลือกัน
และความสุขเวลาได้อยู่กับบรรยากาศที่มีต้นไม้เยอะๆ อากาศสดชื่นๆ
ได้เห็นหมอกสีขาวลอยฟรุ้ง ท้องฟ้าสวยๆ ที่ไม่สามารถหาได้จากที่อื่น
แค่เพียงเรื่องธรรมดาพวกนี้แหละ
ก็เป็นคำตอบที่ทำให้ลืมคำว่าเหนื่อยได้แล้วจริงๆ
ต้องอวยยศให้พี่ยุผู้น่ารัก ที่ช่วยถือของให้น้องๆ
ว่าแต่..พวกเจ้าเชื่อในพลังใบไหม
เขาเหมนเป็นป่าโบราณที่น่าค้นหา
ระหว่างทางเราก็จะเห็นกับความสมบูรณ์ของป่า
ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ แมลง มอส เฟิร์น หรือวัชพืชต่างๆ
สมกับเป็นป่าทึบ ที่มีความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา
ข้อดีอีกอย่างของที่นี่คือไม่มีทาก เดินแบบสบายหายห่วงเลย
ป่าใต้นี่มันเท่ห์และมีเสน่ห์จริงๆ
จุดพัก
ชั่วโมงนิดๆ ในการเดินขึ้นมาถึงจุดพัก
เป็นจุดที่มีคำถามกับเจ้าหน้าที่ว่า "ใกล้ถึงแล้วใช่ไหมคะ"
ครึ่งทางแล้ว (เจ้าหน้าที่ตอบ)
ในใจก็คิด..เออมันก็ไม่ได้ไกล แถมยังไม่เหนื่อยมาก
ถ้าเทียบกับเขาลูกอื่นๆ นะ (คหสต)
ใกล้ๆ มีลำธารเราสามารถล้างหน้าล้างมือได้
แล้วก็พักกินข้าวเที่ยง เก็บแรงสู้ต่อกับครึ่งทางข้างหน้า
ระหว่างเดินก็จะมีโขดหินเหมือนเป็นทางน้ำไหล
จะมีพวกตะไคร่น้ำ ซึ่งตอนเดินอาจจะลื่น
เดินกันระวังๆ ด้วยเด้อ
เดินมาสักพักก็จะเจอเนินหินด้วยกัน 2 จุด
ที่ต้องใช้สกิลการปีนป่าย เหมือนเด็กที่กำลังอยู่ในวัยซุกซน
จากจุดนี้สามารถมองเห็นวิวรอบๆ
...
ตามไปดูสกิลการปีนป่ายกันต่อเลย
ว่าใครจะสเต็บเทพกว่ากัน
นั่งเฉยๆ ยังเท่ห์เลยลวกพี่
พอเดินพ้นเนินหินไปอีกนิดก็ใกล้จะถึงจุดกางเต็นท์แล้วนะ
เมื่อจุดหมายอยู่ไม่ไกล ก็รู้สึกใจชื้นขึ้นมาทันที ฮ่าาา
ถึงลานกางเต็นท์แล้ววววว
ใช้เวลารวมๆ 3-4 ชั่วโมง กับระยะทาง 3.5 กม.
และยังคงรักษาตำแหน่งรั้งท้ายไว้ได้ทุกทริป ฮ่าๆ
หลังจากกางเต็นท์เสร็จก่อนที่พระอาทิตย์จะลา
ก็มีเวลาพอให้เราได้นั่งพัก และถ่ายรูปเล่น แชะ แชะ แชะ
หลังจากนั้นก็พากันเดินไปยังจุดชมวิวยอดเขาเหมน
ใช้เวลาไม่นาน 10 นาที แต่ทางยังคงชันเหมือนเดิม
เขาเหมนหรืออีกชื่อเรียกว่า เขาพระสุเมรุ
เป็นยอดเขาที่สูงอันดับ 2 ของภาคใต้
บนยอดมีพระพุทธรูปให้กราบไหว้
ความสูง 1,307 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง
ฟ้าปิดจนมองไม่เห็นวิว เห็นแต่หมอกขาวๆ
ฟิวดีไปอีกแบบ อากาศเย็น สดชื่น
ก็ยืนสูดอากาศให้เต็มปอดไปเลย
บรรยากาศตอนกลางคืน
หลังจากที่กำลังสนุกกับการล้อมวงคุยกันและช่วยกันทำอาหารได้ไม่นาน
ฝนก็ตกแบบฟ้ารั่ว เต็นท์ที่กางเตรียมไว้นอนก็กลายเป็นอ่างเลี้ยงปลาทันที
แต่ดีมีเต็นท์อีกหลังที่ยังไม่เปียก ก็นอนรวมกัน 3 คนแบบอบอุ่นไปเลยสิ
..
ไม่ว่าฝนจะตกหนักแค่ไหนเราก็ไม่เกรงกลัว
นั่งพูดคุยกันจนดึก ก่อนจะแยกย้ายกลับเต็นท์ตัวเอง
เอาจริงๆ ก็นอนไม่หลับเลย หนาวสะบัด
แถมตื่นมาพร้อมกับอาการปวดหลัง ฮ่าๆ
ตอนเช้า
การเดินทางของนักเดินทาง ที่ "ชอบพาตัวเองไปลำบาก"
ยินดีนะ ที่เรื่องราวของเรามันมีพวกคุณรวมอยู่ด้วย
และขอบคุณไม่ว่าอะไรก็ตามที่พาเรามา พบกัน ที่ เขาเหมน
ขอบคุณ...
ผู้อ่านที่เข้ามาอ่านบันทึกเรื่องกิน เรื่องเที่ยว
อ่านแล้วถูกใจฝากกดแชร์ด้วยน๊า
สามารถติดตามการเดินทางอื่นๆ ได้ตามนี้
https://th.readme.me/id/LoveescapeJourney
ปล. ขอบคุณรูปสวยๆ จากพี่เบิร์ด ที่ใจดีถ่ายรูปรวมทีม
สนใจถ่ายรูปสวยๆ ติดต่อคนนี้เลย Fb: เบิร์ด เมืองฝุ่น
พบกัน Journey | ฉันมาเพื่อ "คิดถึง" เธอ
วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 00.01 น.