2rku4c8m04ed

Pakistan เป็นอีกหนึ่งประเทศที่อยู่ใน Bucket List ของผม ตั้งใจจะไปหลายครั้งแล้ว แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่ได้ไปสักที แต่ครั้งนี้ ฝันผมเป็นจริงแล้ว...

หลายคนอาจสงสัยว่าปากีสถานมีดีอะไรให้ต้องไปค้นหา ไหนจะสภาพการเมืองการปกครองที่ดูอึมครึม รวมถึงความปลอดภัยของประชากรในพื้นที่และของนักท่องเที่ยว แต่ขอบอกเลยว่าทางตอนเหนือของปากีสถาน ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ผู้คนเป็นมิตรมาก ยิ้มแย้มแจ่มใสและพร้อมทักทายกับคนแปลกหน้า อีกทั้งสภาพภูมิประเทศยังสวยงามแปลกตา และยิ่งสวยงามมากถ้าหากมาให้ถูกช่วงเวลา ไม่ว่าจะเป็นช่วงใบไม้เปลี่ยนสีหรือช่วงซากุระบาน เพิ่มเสน่ห์ให้กับปากีสถานเป็นอย่างมาก ทริปนี้ผมมีเวลาทำความรู้จักปากีสถานรวมทั้งสิ้น 11 วันเต็มๆ ตอนแรกก็ว่าเยอะนะ แต่พอได้ค่อยๆ รู้จักปากีสถานไปทีละน้อยๆ ได้เห็นถึงความหลากหลาย ความสวยงามของสถานที่ท่องเที่ยว ได้เรียนรู้ชีวิตความเป็นอยู่ อาหารการกินของคนที่นั่น พอถึงวันที่ใกล้จะจบทริป ผมกลับรู้สึกใจหายอย่างบอกไม่ถูกเหมือนกัน ไปดูกันครับว่าผมได้ประสบพบเจออะไรในปากีสถานบ้าง

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับปากีสถานกันก่อนดีกว่า ปากีสถานมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ มีพรมแดนติดต่อกับประเทศอิหร่าน อัฟกานิสถาน จีน และอินเดีย โดยแบ่งพื้นที่ของปากีสถานเป็น 4 แคว้นหลัก ได้แก่ Balochistan, Sindh , Punjab และ Khyber Paktunkhwa และยังมีอีก 3 เขตปกครองตัวเอง นั่นก็คือ Azad Kashmir , Gilgit Baltistan และ Islamabad Capital Terirory ซึ่งเป็นเมืองหลวงของปากีสถานครับ เนื่องจากประชากรของปากีสถานกว่า 96% นับถือศาสนาอิสลาม ปากีสถานจึงมีการปกครองแบบสาธารณรัฐอิสลามที่มีการนำกฎหมายอิสลามเข้ามาใช้ในการปกครอง

คำว่า ‘ปากีสถาน’ หมายความว่าดินแดนอันบริสุทธิ์ เป็นประเทศเกิดใหม่ที่มีอายุยังไม่ถึง 100 ปี เดิมพื้นที่ของปากีสถานเคยเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดีย ในช่วงที่อินเดียยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษนั้น อินเดียมีคนจากหลายเชื้อชาติ หลายศาสนามาอยู่รวมกัน จนในปี ค.ศ.1947 อังกฤษได้คืนเอกราชให้กับอินเดีย ก็ได้มีการตัดสินใจแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งออกมาเป็นปากีสถานตะวันตกและปากีสถานตะวันออก ซึ่งพื้นที่ทั้งสองไม่ได้อยู่ติดกัน แต่มีพื้นที่ของประเทศอินเดียคั่นกลางอยู่ เรียกได้ว่าปากีสถานตะวันตก และปากีสถานตะวันออก อยู่คนละฝั่งของประเทศอินเดียเลย เหตุผลหลักคือเรื่องของศาสนา โดยแยกพื้นที่ที่คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามออกมาจากพื้นที่ที่คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู แต่ด้วยความที่ปากีสถานทั้งสองฝั่งอยู่ห่างกันมาก ราว 2,000 กิโลเมตร ทำให้เกิดมีการบริหารจัดการที่ไม่ทั่วถึงจึงเกิดความขัดแย้งทางการเมืองขึ้น ทำให้ในปี ค.ศ.1971 ปากีสถานตะวันออกจึงได้แยกตัวออกมาเป็นประเทศใหม่ที่มีชื่อว่า ‘บังกลาเทศ’ ตามที่ปรากฏอยู่ในแผนที่โลกนั่นเองครับ

0607cpubiy5d

ที่มา : https://ngthai.com/history/43577/partition-of-india-and-pakistan-history/

สำหรับโปรแกรมการเดินทางคร่าวๆ ของผม เป็นดังนี้

Day 1 : BKK > Islamabad
Day 2 : Islamabad > Gilgit > Hunza
Day 3 : Hunza > Passu

Day 4 : Passu > Kunjerab Pass > Passu

Day 5 : Passu > Gilgit

Day 6 : Gilgit > Gupis

Day 7 : Gupis > Gilgit

Day 8 : Gilgit > Fairy Meadows

Day 9 : Fairy Medows

Day 10 : Fairy Medows > Besham

Day 11 : Besham > Taxila > Islamabad > Lahore

Day 12 : Lahore > BKK

4kcgcb9br6vr

วันแรกของการเดินทาง : 18 ตุลาคม 2567

ovp6ji6yewvq

โดยในทริปนี้ผมเดินทางกับสายการบินไทย บินตรงไปลงที่ Islamabad ซึ่งมีบินวันละไฟล์ท (บินเฉพาะวันจันทร์/พุธ/ศุกร์/เสาร์) ไปถึง Islamabad ก็เกือบ 23.00 น. แล้ว (เวลาที่ปากีสถานช้ากว่าประเทศไทย 2 ชั่วโมง)

gzhspkiduee7

เมื่อผ่านกระบวนการตรวจคนเข้าเมือง และรับสัมภาระเสร็จเรียบร้อยแล้ว Osama ไกด์ชาวปากีสถานพาผมและคณะเข้าพักที่โรงแรมใกล้ๆ สนามบิน เพราะวันรุ่งขึ้นผมมีแผนจะบินไปยังเมือง Gilgit ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเมือง Islamabad ครับ ด้วยความมึนๆ และความเร่งรีบที่จะรีบพักผ่อน ผมลืมดูชื่อโรงแรมเลยว่าชื่ออะไร จำได้ว่ากำลังเตรียมจะอาบน้ำอยู่ดีๆ น้ำหยุดไหลซะงั้น ดีที่ยังไม่ได้ลงสบู่ ไม่เช่นนั้นงานงอกแน่ๆ 55

วันที่สองของการเดินทาง : 19 ตุลาคม 2567

ผมออกเดินทางไปถึงสนามบินราว 04.00 น. เพื่อจะบินต่อไปยัง Gilgit-Baltistan ดินแดนปกครองตนเองที่อยู่ทางตอนเหนือสุดของปากีสถาน ตารางการบินจะบินในเวลา 06.00 น. ตอนนั้นก็ทำใจแล้วว่าคงได้ตื่นเช้าฟรีแน่ๆ แถมโปรแกรมในวันนี้คงต้องมีการปรับใหม่อย่างแน่นอน เพราะสายการบินภายในประเทศนี้ขึ้นชื่อในเรื่องของการ Delay ครับ แต่...วันนี้โชคเข้าข้างผม ไฟล์ทบินออกตรงเวลาครับ

non7gzgvtdzh
aovcgxump857
aj3lbvrwuoj6
k48o68668d6h
x1qh6ysjtqrw
7l2i6qg920qg
27hfopvzhnsj

การบินไฟล์ทนี้ประหนึ่งผมซื้อทัวร์ชมยอดเขาเอเวอเรสต์ในเนปาลเลยครับ ต่างกันที่ตอนนี้ผมอยู่ในปากีสถานเท่านั้น นักบินจะคอยอธิบายว่าด้านซ้ายและด้านขวา เราเห็นยอดเขาอะไร แถมระหว่างบินยังมีเสิร์ฟอาหารว่างด้วย ตอนเครื่องใกล้ Landing ก็แอบลุ้น กลัวว่าปีกเครื่องบินจะไปเกี่ยวยอดเขาเอา เพราะดูเหมือนระยะห่างระหว่างปีกเครื่องบินกับภูเขามันใกล้กันซะเหลือเกิน ผมใช้เวลาบินประมาณ 1 ชั่วโมง 15 นาที ก็มาถึงเมือง Gilgit สนามบินเล็กๆ ที่อยู่ในอ้อมกอดของภูเขาสวยครับ

67n51yeqadm7
yyxeo05cswk1

บรรยากาศในสนามบินครับ

ไฟล์ทนี้มีปัญหานิดหน่อยสำหรับกรุ๊ปของผม คือสัมภาระมาไม่ครบ 1 ใบ ตอนออก boarding pass ที่ Islamabad มีมั่วๆ กันนิดหน่อย คือตอน Check in และโหลดสัมภาระ จริงๆ ควรจะเป็นของใครของมัน แต่ ณ เวลานั้นหยิบจับของใครได้ก็เอาสัมภาระชั่งน้ำหนักเลย (บริษัททัวร์แยก Booking ตอนจองตั๋ว และสัมภาระบางท่านมีน้ำหนักเกิน 20 กก. จึงต้องมาเฉลี่ยน้ำหนักเพื่อไม่ให้น้ำหนักรวมเกิน) แต่ยังดีที่ยังได้ Tag สัมภาระมาครบ ทำให้เราสามารถยืนยันสัมภาระที่ตกค้างได้ นี่ถ้า Tag หาย ทางสายการบินคงไม่รับผิดชอบอะไร เพราะเราไม่มีหลักฐานอะไรยืนยัน ดังนั้นเราควรเก็บ Boarding Pass ไว้ให้ดีๆ เพราะเจ้าหน้าที่จะติด Tag สัมภาระไว้ที่ด้านหลัง Boarding Pass ครับ สำหรับสัมภาระที่มาไม่ครบจะถูกส่งมาให้อีกไฟล์ทในตอนเที่ยง (ยังดีที่มีบินวันละ 2 ไฟล์ท ถ้าอย่างนั้นปัญหางอกอีกแน่ เพราะคืนพรุ่งนี้ผมไม่ได้นอนที่ Gilgit ครับ).

หลังจากจัดแจงเรื่องสัมภาระเสร็จเรียบร้อยแล้ว Osama และ Luqman ไกด์ท้องถิ่นชาวปากีสถานก็พาไปทานอาหารเช้าที่โรงแรมแห่งหนึ่ง อาหารเช้าแบบ Buffet อาหารทานได้เกือบทุกอย่าง ไม่มีเมนูอะไรที่แปลกจนไม่น่าทาน ที่สำคัญวิวที่มองจากห้องอาหารสวยมาก มองเห็นยอดภูเขาที่มีหิมะปกคลุมด้วยครับ

ctr48j41kjf2
745jy2mt2iql

หลังอาหารเช้าผมเดินทางต่อโดยรถมินิบัส โดยมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่หุบเขาฮุนซ่า (Hunza Valley) ที่นี่จะมีชนเผ่าหนึ่งที่เรียกว่าชาวฮันซา (Hunza) อาศัยอยู่ ว่ากันว่าชาวฮันซาเป็นชนเผ่าที่มีอายุยืนยาวที่สุดในโลกเลยครับ การเดินทางจาก Gilgit ไปยัง Hunza Valley จะใช้เส้นทาง Karakoram Highway ระหว่างทางเราจะได้เห็น "เส้นทางสายไหม(สายเก่า)" ด้วย

ms1i1f83tfl3
fs9eyth4bmyz

เดิมเส้นทางสายไหม (สายเก่า) เป็นเส้นทางการค้าจากจีนไปสู่ยุโรปเมื่อสองพันกว่าปีมาแล้ว โดยมีไหมเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมของราชสำนักยุโรป ถนนเส้นนี้จึงได้ชื่อว่า เส้นทางสายไหม นอกจากเป็นเส้นทางการค้าแล้ว เส้นทางสายไหมยังเป็นเส้นทางเผยแพร่ศาสนาและวัฒนธรรมด้วย หลังการเสื่อมถอยของเส้นทางการค้าเก่าแก่นี้ จีนกลับมาเป็นหัวหอกในการฟื้นฟูและพัฒนาเส้นทางการค้าใหม่อีกครั้ง และจุดที่ผมยืนอยู่นี้ คือหนึ่งในเส้นทางสายไหม ที่มองไปทางไหนก็จะเห็นเทือกเขาน้อยใหญ่ล้อมรอบตัวเราอยู่ครับ

4ngsw79v8vdm
9dx959i9uats

Karakoram Highway ถูกยกให้เป็นถนนลาดยางลอยฟ้าที่สูงที่สุดและสวยที่สุดในโลก เป็นทางหลวงสายมิตรภาพจีน-ปากีสถาน ที่ทอดยาวไปตามเทือกเขา Karakoram ความสำคัญของเทือกเขานี้น้องๆ เทือกเขาหิมาลัยครับ เพราะเป็นที่ตั้งของยอด K2 ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากยอดเขาเอเวอเรสต์ของเทือกเขาหิมาลัยในเนปาลครับ Karakoram Highway มีความยาวถึง 1,340 กิโลเมตร เริ่มจากเมือง Hasan Abdal ในปากีสถาน ไปสิ้นสุดที่ Kashgar ในประเทศจีน ถนนสายนี้ใช้เวลาก่อสร้างยาวนานกว่า 20 ปี ด้วยสภาพภูมิประเทศที่สูง มีแต่ภูเขาที่พร้อมถล่มอยู่ตลอดเวลา ทำให้มีแรงงานเสียชีวิตกว่าพันคน ด้วยเหตุผลของพื้นที่สูงและสภาพภูมิประเทศที่ยากลำบากในการก่อสร้าง ทำให้ถนนเส้นนี้เป็นหนึ่งในความสำเร็จทางวิศวกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 20 และได้รับการขนานนามว่าเป็น “สิ่งมหัศจรรย์อันดับที่แปดของโลก” เลยครับ

ไกด์พามาทานมื้อกลางวันที่โรงแรมใกล้ๆ หุบเขาฮุนซ่า บริเวณชั้นบนของโรงแรมจะทำเป็นคล้ายๆ Rooftop ที่เราสามารถยืนชมวิวของ Hunza Valley ได้แบบ 360 องศาเลยครับ ที่เห็นสิ่งก่อสร้างสีน้ำตาลที่อยู่บนเนินเขาสูงสุด นั่นคือ Balit Fort ครับ

szrudv4hnnv7
z8sbhwsrob2k
rintymg9h01x

HUNZA VALLEY เป็นพื้นที่กว้างใหญ่ในเขตปกครองพิเศษกิลกิต-บัลติสถาน (Gilgit-Bultistan) อยู่ทางตอนเหนือของปากีสถาน ล้อมรอบด้วยยอดเขาสูงมากมายของเทือกเขาคาราโครัม มีแม่น้ำฮุนซ่าเป็นแม่น้ำสายหลัก ขนานไปกับ Karakoram Highway ชาวฮุนซ่าประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกผัก ปลูกผลไม้ เลี้ยงสัตว์

หลังมื้อกลางวัน ไกด์พาไปชม ป้อมปราการบาลิต (Balit Fort) 1 ใน 2 ป้อมปราการสำคัญของหุบเขาฮุนซ่า มีอายุราว 800 ปี ในอดีตเคยเป็นพระราชวังหลวงที่มีสถาปัตยกรรมรูปแบบผสมผสานระหว่างแคชเมียร์กับทิเบต แสดงให้เห็นถึงความรุ่งโรจน์ของอดีตราชอาณาจักร Hunza ซึ่งเป็นมหาอำนาจที่โดดเด่นในภูมิภาค ความเก่าแก่และสำคัญนี้ทำให้ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกตั้งแต่ปี ค.ศ.2004 ภายในป้อมปราการจะแบ่งเป็นห้องหลายส่วนมาก รวมถึงมีที่คุมขังนักโทษด้วย

fuo5bcyqumlk
ww399mxqbyeq
5juot25rms79
owinsdj85ec0
74hdm12583vd
fzpyj3rqb3ll
l1epzvdiw2tt
axg11layn1c8
ml7bmghcb4x3
gwnm19s3tw91
0mf6poqfuuta

ตัวป้อมปราการบาลิตสร้างอยู่เชิง Ultar Glacier และหันหน้าไปทางยอดเขา Rakaposhi ซึ่งเป็นเทือกเขาที่มีความสูงถึง 7,788 เมตรจากระดับน้ำทะเล นับเป็นภูเขาที่สูงเป็นอันดับที่ 27 ของโลก คำว่า ‘ราคาโปชิ’ มีความหมายว่า ‘หิมะปกคลุม’ วิวโดยรอบสวยงามมากๆ ครับ

จากจุดจอดรถเราจะต้องเดินเท้าขึ้นไปตามทางลาดชัน ใช้เวลาราว 15 นาที ก็จะถึงป้อมปราการบาลิต เล่นเอาหอบอยู่เหมือนกัน แต่ระหว่างทางก็จะได้ชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงามและร้านขายของมากมาย ผมเองยังได้อุดหนุนเชอรี่แห้งของชาวบ้านมาด้วยครับ

aowey3u3skgo
3xerb1lhbc0b

เย็นนี้ผมเข้าพักที่ Hard Rock Hotel ในเมือง Hunza ที่ตั้งของโรงแรมดีมากๆ มองเห็นวิวทิวเขาได้แบบ 360 องศา ห้องพักก็ดีด้วย กว้างขวาง สัญญาณ wifi ก็ดี สิ่งอำนวยความสะดวกดีกว่าทุกโรงแรมที่ผมเข้าพัก (ไม่นับรวมโรงแรมที่ Lahore ที่นับเป็นเมืองสำคัญของปากีสถาน)

ho4wggikh1od
5z8dkv5bqh52
ip78earcejuy
ujae685pbfuc
5e9htks9gpad

ด้านบนของโรงแรมทำเป็น Rooftop bar ที่สามารถมองวิวได้แบบสุดลูกหูลูกตา และยังสามารถชมยอด Lady Finger Peak แบบใกล้แค่เอื้อมครับ

yslastwa7yoa

จุดชมวิว Eagles Nest อยู่ไม่ไกลจากโรงแรม ตอนเช้าผมจะไปชมวิวที่ Eagles Nest ครับ

7a7e3kxryjcy

ช่วงค่ำอากาศเย็นมาก ราว 4 องศา ผมออกมายืนชมวิวที่ระเบียงห้องพักได้ไม่ถึงนาที รู้สึกสั่นสะท้านไปทั้งตัว ขนาดสวมเสื้อถึง 3 ชั้นแล้วก็ตาม ต้องรีบกลับเข้าไปหาไออุ่นในห้องพักครับ

วันที่สามของการเดินทาง : 20 ตุลาคม 2567

ผมออกเดินเท้าจากที่พักช่วง 05.30 น. เพื่อขึ้นมารอชมแสงเช้าบน Eagles Nest ครับ การเดินเท้าไปยัง Eagles Nest ก็ไม่ยากเย็นเลย แต่อาจจะต้องเดินขึ้นทางลาดชันในระยะสั้นๆ ราวๆ 3 นาที แต่บอกเลยว่าคุ้มค่าที่แหกขี้ตาตื่น คุ้มค่ากับการทนความหนาว ได้เห็นวิวสวยๆ แล้วลืมความหนาวไปเลยครับ

มองหันหลังกลับไปโซนที่พัก สวยงามเลยทีเดียว มีฉากหลังเป็นยอด Lady Finger Peak ครับ

k7v31vhfvu6x

ช่วงที่ผมไปเป็นช่วงฤดูใบไม้เปลี่ยนสี ใบไม้ต่างทยอยพากันเปลี่ยนสีจากสีเขียวเป็นสีเหลือง สีส้ม ย้อมหุบเขาฮุนซ่าให้มีสีสันสดใส บวกกับสีเทอร์ควอยซ์ของแม่น้ำฮุนซ่า และยังมีฉากหลังเป็นเทือกเขาคาราโครัม เป็นภาพที่งดงามและประทับใจมากๆ ครับ

gpijpaw0lk6h
vs4uox0hcg86

ยอดเขาที่เป็นไฮไลต์ของ Hunza Valley คงต้องยกให้ Lady Finger Peak ที่ตั้งอยู่สูงเหนือระดับน้ำทะเลถึง 6,000 เมตรเลยทีเดียว โดยยอดเขานี้จะเป็นยอดแหลมๆ ดูคล้ายกับนิ้วมือของผู้หญิง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อยอดเขานั่นเองครับ

eaus9kqlcpfm
7oox0yrzs756

ยอดเขาแต่ละยอดดูเหมือนอยู่ใกล้แค่เอื้อม แต่ละยอดก็จะมีชื่อของมัน แต่ตอนนั้นสมองผมเบลอไปหมด จำชื่อแซ่ของยอดเขาไม่ได้เลย จำได้ก็แต่ Lady Finger เท่านั้นครับ

wzkh2b9us5ri
bg4eus2potye
wkge29fhvuyc

หลังมื้อเช้า ผมเดินทางต่อสู่ Altit Fort ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่พักมากนักครับ

zchkhqgn1yvt

การเข้าถึง Altit Fort สะดวกกว่าการเที่ยวชม Balit Fort มาก เส้นทางเดินใกล้กว่า แถมไม่ต้องเดินขึ้นทางลาดชันด้วย ระหว่างเส้นทางก็มีวิวสวยๆ ให้ชมครับ

zfembyvmkhp1
aa7lpazhlv7d
5q8s3a5npelc

ช่วงที่ผมไป แอปเปิลที่อยู่สองข้างทางกำลังออกผล เจ้าหน้าที่อนุญาตให้เก็บไปกินได้ด้วย บอกเลยว่าแอปเปิลที่นี่หวาน กรอบ อร่อยมากครับ

zeyhapn0q1o5

Altit Fort เป็นอีกหนึ่งป้อมปราการสำคัญของหุบเขาฮุนซ่า ที่มีอายุมากกว่า 1,000 ปี สัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในแคว้น Gilgit Baltistan ที่บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ในอดีต ทั้งเรื่องการปกครองและวัฒนธรรม ป้อมปราการถูกสร้างขึ้นจากดิน ให้เป็นที่อยู่ของผู้ครองนครฮุนซ่า 3 ศตวรรษ แล้วย้ายไปสร้างใหม่ให้ใหญ่กว่าเดิมที่ Baltit Fort ซึ่งอยู่บนเขาที่สูงกว่า ปัจจุบันด้านใน Altit Fort เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ครับ

x35j12nm7cqd
dbeavvjhpzk9
3f3iz8c6oht5
jhx3r2niqzui

ป้อม Altit Fort สร้างอยู่บนยอดเขาในจุดที่มองเห็นได้รอบทิศ จึงสามารถมองเห็นแม่น้ำฮุนซ่าที่ขนานไปกับ Karakoram Highway และเรายังสามารถเห็นหุบเขาฮุนซ่าได้ด้วยครับ

g3b7sq5hbnvn
bia5wn9sl8fy

มุมนี้มองจาก Karakoram Highway มองขึ้นไปเห็น Altit fort

7wpows3xclob

วิวสวยๆ บนเส้นทาง Karakoram Highway มีให้เห็นทั้งภูเขา และทะเลสาบ

3wfv3cqi9o63
kkdibxb7g7de
mbev2omyuk7i
8m4r0pwfzah7
wgnyb78jholy

จาก Altis Fort ผมมุ่งหน้าสู่ Attabad Lake ที่ตั้งอยู่ในหุบเขาฮุนซ่า ทะเลสาบแห่งนี้เกิดจากดินถล่มลงมาปิดกั้นการไหลของน้ำในแม่น้ำฮุนซ่า ซึ่งเป็นผลของแผ่นดินไหวเมื่อปี 2009 ทะเลสาบมีความยาว 21 เมตร ลึก 103 เมตร ที่สะดุดตาที่สุดเห็นจะเป็นสีของน้ำในทะเลสาบที่เป็นสีเทอร์ควอยซ์ตัดกับสีฟ้าครามของท้องฟ้าดูสวยงามมากครับ กิจกรรมที่ไม่อยากให้พลาดและผมเองก็ไม่พลาด นั่นคือการล่องเรือในทะเลสาบ โดยผมเลือกที่จะใช้ traditional boat เพราะดูได้ฟิลลิ่งกว่าเรือประเภทอื่นๆ ที่สำคัญสีสันของเรือท้องถิ่นดูสดใสมากๆ ใช้เวลาในการล่องเรือประมาณ 20 นาทีครับ

a4mhm3lepjsk
4ikza4q3cfj2
9avdgo6ptezy
d4znn4137br5
yrcscly02hbo

จากนั้นเดินทางต่อสู่เมือง Passu ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆ บน Karakoram Highway ระหว่างทางก็มีภูเขารูปทรงแปลกตาให้เห็นอยู่ตลอดทางครับ

ldijjngpn0id

จาก Attabad Lake ผมมุ่งหน้าสู่สะพานฮุซเซนแห่งทะเลสาบโบริท (Hussaini suspension bridge) เป็นสะพานแขวนที่ถูกขึงด้วยสลิง ตามข้อมูลที่ป้ายเขียนไว้ว่าสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1968 และมีการปรับปรุงในปี ค.ศ.1983 และ ค.ศ.2012 ปัจจุบันพื้นสะพานพาดด้วยไม้แบบห่างๆ ไม่น่ากลัวเท่าสมัยก่อน ผมว่าน่าจะมีการซ่อมแซมอีกครั้งเมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้าแน่ๆ เพราะดูจากสภาพของพื้นไม้และสลิง ยังดูไม่เก่ามากนัก สะพานนี้ถูกจัดให้เป็นสะพานที่น่ากลัวที่สุดในโลก หากถามผมว่าน่ากลัวไหม สำหรับผม ผมเฉยๆ นะ แต่ถ้าใครที่กลัวความสูง จิตอ่อน คงไม่กล้าเดินไปมาบนสะพานแน่ๆ ความยาวของสะพาน 193 เมตร

yv51008fddlq
8slafs843xzb
r6eq9rbvzrnn

อีกหนึ่งสิ่งที่ผมประทับใจกับ Hussaini suspension bridge นั่นคือวิวที่เห็นอยู่เบื้องหน้า กับยอดเขาที่มีลักษณะคล้ายกับทางแหลมของหลังคาปราสาท จนได้ชื่อว่า Passu Cones หรือ Passu Cathedral บ้างก็มองเหมือนกรวยไอศกรีมหลายร้อยกรวย ดูสวยงามจนไม่อยากละสายตา ยอดของ Passu Cones มีความสูงอยู่ที่ 7,468 เมตร เป็นยอดเขาที่อยู่ใน Batura Muztagh ซึ่งเป็นเทือกเขาย่อยของคาราโครัมนั่นเองครับ

ใครมาเที่ยวที่นี่แนะนำให้ข้ามสะพานไม้ไปจนถึงอีกฝั่งด้วยนะครับ จะได้เห็นอีกหนึ่งจุดชมวิวสวยๆ ช่วงที่ผมไปเป็นช่วงใบไม้เปลี่ยนสี มองเห็นใบไม้สีเหลือง ตัดกับยอดเขาหิมะสีขาวๆ สวยงามจับใจมากๆ ครับ

jqxumxw5fv7g
hlf2fina27ny

จากนั้นผมเดินทางต่อสู่ Passu Glacier ซึ่งอยู่ไม่ไกลจาก Hussaini suspension bridge มากนัก ระหว่างทางก็จะเห็นวิวภูเขาสวยๆ ไปตลอดทาง

vvx4249gg08f
13ik3say1y7g

ผมแวะทานมื้อกลางวันใกล้ๆ กับ Borith Lake บริเวณร้านอาหารสามารถมองเห็นทะเลสาบได้ในระยะใกล้ๆ ในอดีตผู้ปกครองฮุนซ่ามักจะมาล่าสัตว์กันที่ Borith Lake และจะมีบ้านหลังเล็กๆ ริมทะเลสาบใช้เป็นที่พักของผู้ปกครองในสมัยนั้น แต่ปัจจุบันถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงแรม Borith Lake Hotel ไปแล้วครับ ปัจจุบันบริเวณทะเลสาบแห่งนี้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ปีก เป็นพวกสัตว์ที่อพยพมาจากถิ่นต่างๆ เช่น เป็ด ห่าน หงส์ นักท่องเที่ยวสามารถมารอชมสัตว์พวกนี้ได้ 2 ช่วงด้วยกันคือช่วงเดือน มีนาคม-มิถุนายน และช่วงกันยายน-พฤศจิกายนครับ

ku6j9j6aaqpu

จาก Borith Lake นั่งรถต่ออีกประมาณ 20 นาที ก็มาถึงจุดจอดรถ จากจุดนี้เราจะต้องเดินเท้าต่ออีกราว 20 นาที เพื่อเข้าไปยังจุดชมวิว Passu Glacier ซึ่งเป็นจุดชมวิวที่ใกล้ที่สุดครับ การเดินเท้าในช่วง 100 เมตรแรกอาจจะเหนื่อยสักหน่อย เพราะเป็นทางลาดขึ้นเขา แต่หลังจากนั้นก็จะเดินลัดเลาะไปตามไหล่เขา เส้นทางไม่ชันเหมือนช่วง 100 เมตรแรก แต่อาจต้องเดินดีๆ สักหน่อยเพราะหากเดินพลาดมีอันไถลตกเขาแน่ๆ ยิ่งเดินเข้าไปใกล้ Passu Glacier ก็ค่อยๆ เผยโฉมให้เราเห็นทีละน้อยๆ มันดูยิ่งใหญ่และสวยงามมากครับ ใครอยากชม Glacier สวยๆ ขาวๆ แนะนำให้มาช่วงเช้าถึงบ่ายๆ ครับ เพราะช่วงบ่ายถึงเย็น Glacier จะไม่โดนแดดแล้ว

rbu7gfgfxawu
hn5dlyccgnw2
pargzvi2gwam
fc5ypvza1wjz
tqz3o7aaci0b

Passu Glacier เป็นธารน้ำแข็งที่มีความยาวกว่า 20 กม. เกิดขึ้นมาจากการถล่มของหิมะแล้วทับถมกันมาเป็นเวลานาน ธารน้ำแข็งที่ละลายจะไหลลงสู่แม่น้ำฮุนซ่าซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักที่ไหลผ่านเมือง Passu และไหลคู่ไปกับ Karakoram Highway ครับ

จากจุดชมวิว หากมองย้อนหลังกลับตามเส้นทางที่เราเดินมา ก็จะเห็นมุมนี้ ว้าวมาก

nrwk43qvqyeq

ขากลับนี่เดินกันตัวเบาเลยครับ เพราะเส้นทางไม่มีทางลาดขึ้นเขาแล้ว มีแต่ทางลงเขาเท่านั้น ขากลับทำเวลาได้ดีกว่าขาไปครับ

จาก Passu Glacier มุ่งหน้าเข้าที่พักครับ ระหว่างทางมีจอดแวะถ่ายภาพริมเส้นทางกัน 1 จุด ซึ่งเป็นจุดที่สวยงามเลยทีเดียว สามารถมองเห็นข้อความ WELCOME TO PASSU ที่มีฉากหลังเป็น Passu Cones

z53oy4yh84hf

และจุดเดียวกันนั้นเอง ยังสามารถมองเห็น Passu Glacier ได้จากระยะไกล ซึ่งเป็น Glacier ที่ผมเพิ่งเดินไปที่จุดชมวิวเมื่อสักครู่นั่นเอง

uchs4ugvr49u

คืนนี้ผมเข้าพักที่ Passu Tourist Lodge โดยผมจะพักที่นี่ 2 คืน ทำเลของ Passu Tourist Lodge นั้น ตั้งประจันหน้ากับ Passu Cones เลยครับ บอกเลยว่าวิวดีมากๆ

nmh6d4m8kjoy
2e8ns69qbmwq

ห้องพักที่นี่จะเป็นคล้ายบ้านแฝด ใน 1 ห้องจะมีเตียงใหญ่ที่สามารถนอนได้ 2 คน 1 เตียง และเป็นเตียงเล็กอีก 1 เตียง เรื่องน้ำอุ่น ต้องเปิดน้ำทิ้งไว้เกือบ 10 นาที ถึงจะสามารถอาบน้ำได้ครับ แต่ที่ผมชอบที่สุดคือบริเวณหน้าห้องจะมีต้นแอปเปิลที่กำลังติดผล สามารถเด็ดกินได้เลยครับ

412oaeyyaqro
cgsg7mwy6wcb

บรรยากาศห้องอาหารส่วนกลาง ระหว่างมื้ออาหารค่ำจะมีพนักงานมาเต้นระบำพื้นเมืองให้ชมด้วย แถมยังให้แขกได้ออกไปร่วมเต้นด้วย แต่คณะผมเห็นท่าไม่ดีเลยรีบหนีกันกลับก่อนเพราะกลัวโดนให้ไปเต้นครับ 555 อ้อ ที่นี่มี wifi ให้นะครับ แต่สัญญาณค่อนข้างอ่อน เพราะแขกน่าจะรุมใช้กันเยอะ สามารถมานั่งเล่นบริเวณลอบบี้ได้ แต่ตามห้องพักสัญญาณไม่ดีนัก บางทีก็เล่นไม่ได้ครับ

3tzyzi46tq1p

วันที่สี่ของการเดินทาง : 21 ตุลาคม 2567

อากาศเช้าวันใหม่หนาวเหน็บเอาเรื่องครับ ที่ยอมตื่นเช้าเพราะผมอยากได้รูปแก้มือจากเมื่อวานเย็น เพราะเมื่อวานผมมาถึงที่พักก็เย็นแล้ว ทำให้แสงหมด ถ่ายรูปออกมาไม่สวย เช้านี้เลยขอแก้มือสักหน่อย

ผมรีบออกมาเก็บบรรยากาศด้านหน้าที่พัก ที่ยามนี้ใบไม้ของต้นไม้สองข้างทางกำลังเปลี่ยนสีจากสีเขียวเป็นสีเหลือง มองเป็นทิวแถว เห็นเป็นเส้นนำสายตาไปสู่ Passu Cones ดูสวยงามมากจริงๆ

1h7ejqsdeagt
3s9bkkk42b7w
z3ql1n5guu9g
zjr6c73n4afu

หลังจากเก็บภาพจนสาแก่ใจแล้ว ก็รีบกลับที่พักไปทานมื้อเช้าก่อนที่จะออกเดินทางกันต่อ จุดหมายของวันนี้อยู่ที่ Khunjerab pass ครับ

ผมมุ่งหน้าไปตาม Karakoram Highway ผ่านเทือกเขาคาราโครัม หรือที่เรียกกันว่า คุนจีราบพาส (Khunjerab Pass) โดยช่องเขาคุนจีราบนี้ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติคุนจีราบ (Khunjerab National Park) เขตอนุรักษ์พืชพันธุ์ไม้ป่า รวมทั้งสัตว์สงวนหาดูยากอย่าง แกะมาร์โคโปโล แพะภูเขา เสือดาวหิมะ จามรี ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมด ผมไม่เห็นเลยสักตัว 555 ระหว่างเส้นทางก็จะลัดเลาะไปตามหุบเขาที่ขนาบข้างด้วยแม่น้ำ รถจะค่อยๆ ไต่ระดับความสูงขึ้นไปเรื่อยๆ สภาพของภูมิประเทศเริ่มเห็นเทือกเขาที่ปกคลุมไปด้วยหิมะดูขาวโพลนไปหมด

0w3on4gi9i3t
r3k2y295x3dr
43c4sssv34t8
bh6mbzei079x

เส้นทาง Karakoram Highway ในฝั่งปากีสถานมาสิ้นสุดลงในบริเวณนี้ มองไปรอบๆ ตัวผม ขาวโพลนไปด้วยหิมะ

ih8lryn39m08
zacose6lz0cc

ในบริเวณนี้เองเราจะพบกับตู้ ATM 2 ตู้ ที่ถูกการันตีว่าตั้งอยู่สูงที่สุดในโลกครับ

8bn1gp7xyoh2
gcp0z67czsah

จากที่ตั้งของตู้ ATM มองออกไปจะเห็นคุนจีราบอยู่ลิบๆ คุนจีราบ (Khunjerab Pass) เป็นจุดผ่านแดนที่จะข้ามไปยังประเทศจีน จุดผ่านแดนนี้ตั้งอยู่บนความสูงเกือบ 4,700 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล นับเป็นจุดผ่านแดนที่สูงที่สุดในโลกครับ

bo9yvafnfrxt
y3to4ykt6v83
tnf5ohm4ubr0
syfmw7ulwdix
yg4rnn80ckzl

และแน่นอนจุดที่อยู่บนความสูงเยอะๆ ออกซิเจนก็จะมีน้อย จุดนี้ผมเองก็แทบแย่ เพราะรู้สึกมึนๆ เวียนหัว รู้สึกอยากจะอาเจียน มันตื้อๆ ไม่สบายตัว นั่นคืออาการเตือนว่าผมเริ่มแพ้ความสูง (AMS : Acute mountain sickness) แล้ว ไกด์บอกให้ผมเดินช้าๆ ทำอะไรให้ช้าลง และให้กินแอปริคอตแห้ง เพราะตามความเชื่อของคนที่นี่เขาเชื่อว่ากินแอปริคอตแห้งจะช่วยบรรเทาอาการแพ้ความสูงได้ แต่ผมเองกินเข้าไปรวมๆ เกือบจะหนึ่งกำมือแล้ว อาการก็ไม่ได้ดีขึ้นเลยครับ

xthjj78d28l3
1cjm36ygmrh1
xjtuc5cbo1ii

จาก Khunjerab Pass เราย้อนกลับมาตามเส้นทางเดิม เพื่อกลับไปยังที่พักของเรา โดยวันนี้ยังพอมีเวลาเหลืออยู่บ้าง ไกด์จึงพาแวะยืดแข้งยืดขาบริเวณ Rainbow Bridge สะพานแขวนระยะสั้นๆ ที่ข้ามแม่น้ำสายเล็กๆ ความเสียวอยู่ในระดับ 1 ใน 3 ของ Hussaini suspension bridge ครับ

cjnfoja5l53v

ตัดกลับมาบริเวณลานจอดรถหน้า Rainbow Bridge หากมองย้อนกลับไปทาง Khunjerab Pass จะได้เห็นวิวสวยๆ ของภูเขาบริเวณนั้น อดไม่ได้ที่จะถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึกครับ

n2do9i9b7lwd

เรามาแวะทานมื้อกลางวันกันระหว่างทางที่จะกลับไปยังที่พักที่ Passu Tourist Lodge ระยะการเดินทางรวมวันนี้ราว 270 กิโลเมตร ใช้เวลาเกือบหมดวันเหมือนกันครับ

วันที่ห้าของการเดินทาง : 22 ตุลาคม 2567

เช้านี้ผมมาเดินเก็บบรรยากาศด้านหน้าที่พักอีกหนึ่งรอบ คราวนี้เดินตามถนนขึ้นมาบนเนิน ทำให้ได้เห็นภาพใบไม้เปลี่ยนสีในมุมสูง ก็สวยไปอีกแบบครับ

hz2mamcfxpkq
uc23krsedihv

ยิ่งสาย ท้องฟ้าเริ่มเข้ม แดดเริ่มส่องลงมาถึงต้นไม้ใบหญ้า เพิ่มเสน่ห์ให้กับ Passu Cones เป็นอย่างมากครับ

ue01yauyvnb6

วันนี้จุดหมายปลายทางของผมอยู่ที่เมือง Gilgit เมืองที่เป็นจุดเริ่มต้นทริปปากีสถานของผม วันนี้นั่งรถยาวไปตาม Karakoram Highway วิวสวยๆ สองข้างทาง ทำให้ผมตื่นตาตื่นใจไปตลอดเส้นทางครับ

5pi5ztnhkfnu
ggmrd1nf7cz9
jhek6xtpgrtk
en68zpyaz6de

ย้อนกลับมาเส้นทางเดิม ผ่าน Altit Fort มองเห็น Lady Finger Peak อีกรอบ

r5o416mj3dh6
n24ckiwlbuxk

จุดนี้เป็นจุดที่ตัดหินอ่อนครับ

y66uwhhsba1z

ระหว่างทางผมต้องผ่านหุบเขาฮอปเปอร์ (Hopper Valley) โดยในหุบเขานี้จะมีธารน้ำแข็งฮอปเปอร์ (Hopper Glacier) ซึ่งผมก็ไม่พลาด ขอไปชมด้วยตาของตัวเอง

xmce4247q8w7
db3rukbm1r2i

จากจุดจอดรถ เราต้องเดินเท้าเข้าไปยัง Hopper Glacier การเดินเท้าก็สะดวกกว่าการไปชม Passu Glacier มาก เป็นทางเดินเท้าระยะสั้นๆ ราว 15 นาทีก็ถึงจุดชมวิวครับ จุดชมวิวจะเป็นคล้ายๆ Cafe และที่พักแบบเต็นท์ แต่จากสภาพในวันนั้นดูเหมือนถูกปล่อยร้างครับ

8vgjp3rrpo6b
zu9eoo9mb2p5

ว่ากันว่า Hopper Glacier เป็นธารน้ำแข็งที่มีความเก่าแก่จากการทับถมของหิมะมาอย่างยาวนานจนกลายเป็นหิน และมีการบันทึกไว้ว่าธารน้ำแข็งนี้เป็นธารน้ำแข็งที่เคลื่อนไหวเร็วที่สุดในโลกด้วย จุดชมวิวนี้จะอยู่ใกล้ธารน้ำแข็งมากที่สุดแล้วครับ

330sgmekeubb
og0jvwv73ykl
5ha7u5ty9a70

จากจุดชมวิว มองย้อนกลับไปตามเส้นทางที่เดินมา มองเห็นตัวเมืองซึ่งเป็นจุดเริ่มเดินเท้า ดูสวยงามเลยทีเดียว

4o360t2sjkb9

ใช้เวลาอยู่ที่ Hopper Glacier อยู่พักใหญ่ ก็เดินทางต่อครับ

9q7z1bhprxyw
piv71yl8vvji

ระหว่างทางจอดแวะชมวิวของยอดเขาราคาโปชิ (Rakaposhi Peak) ซึ่งเป็นยอดเขาบนเทือกเขาคาราโครัม ยอดนี้มีความสูง 7,788 เมตรจากระดับน้ำทะเล นับเป็นภูเขาที่สูงเป็นอันดับที่ 27 ของโลก คำว่า ‘ราคาโปชิ’ มีความหมายว่า ‘หิมะปกคลุม’ จุดชมวิวนี้อยู่ข้างทางและเป็นที่จอดแวะพักเพื่อเข้าห้องน้ำด้วยครับ จริงๆ ขามาผมก็จอดแวะที่จุดนี้ครั้งหนึ่งแล้ว

ngarxnscew7y
a566kclrbklo

แล้วผมก็เดินทางมาถึงเมือง Gilgit เมืองหลวงทางตอนเหนือของปากีสถาน ซึ่งอยู่ห่างจากเมือง Islamabad ราว 500 กม. เมือง Gilgit เป็นเมืองสำคัญในอดีตเพราะเคยเป็นเมืองที่มีเส้นทางสายไหมตัดผ่านและเป็นเส้นทางเผยแพร่พุทธศาสนาไปยังเมืองต่างๆ ปัจจุบันกลายเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญไปตาม Karakoram Highway ที่มีเส้นทางเชื่อมต่อไปยังเมือง Skardu, Chitral , Peshawar , Islamabad และประเทศจีนครับ

สำหรับคืนนี้ผมเข้าพักที่ Indus Lodge Gilgit มองแว๊บแรก เอ๊ะ ทำไมโรงแรมถึงมีชั้นเดียว แต่ที่ไหนได้ ห้องพักจะต้องเดินลงบันได คล้ายๆ เดินลงห้องใต้ดินครับ

tzkfk70402e9
cwej8zw6kaay

ในห้องพักมีเตียง 6 ฟุต 1 เตียง และเตียง 3.5 ฟุตอีก 1 เตียง มีระเบียงให้ออกไปชมวิวด้วย ไฟฟ้าในที่พักค่อนข้างมีปัญหา ไฟดับๆ ติดๆ โดยเฉพาะห้องผม ซึ่งดับอยู่ห้องเดียว สัญญาณ wifi นี่ไม่ต้องพูดถึง อ่อนมากๆ ดีหน่อยที่เครื่องปรับอากาศของที่นี่เป็นเครื่อง heater ไปในตัว ถึงแม้อากาศข้างนอกจะหนาวสักแค่ไหน แต่ในห้องนี่นอนสบายเลยครับ

93oablkcx6kx
x26iwmxzvyzs
j5ze0nxmjse7
i3yyhyhgg1ue
ggeqbr11x0ek

วิวนอกห้องพักครับ

5r86szzbusyp
wtpbxk0p9u1h

วันที่หกของการเดินทาง : 23 ตุลาคม 2567

วันนี้ผมมีจุดหมายปลายทางที่เมือง Gupis ซึ่งเป็นสถานที่ยอดนิยมของนักท่องเที่ยวที่จะมาชมยอดเขาที่มีสีขาวของหิมะและวิวโค้งของแม่น้ำสีเทอร์ควอยซ์ จนได้รับการขนานนามว่าเป็น The Land of Lakes โดยวันนี้ผมมีแผนจะไปชมความสวยงามของ Phander Lake หุบเขาที่งดงามแห่งหนึ่งของปากีสถานจนได้ฉายาว่า "แคชเมียร์น้อย" ระยะทางจาก Gilgit ไปยัง Gupis ประมาณ 113 กม. ครับ แต่... เอาเข้าจริงๆ ผมใช้เวลาเดินทางไปหนึ่งวันเต็มๆ เพราะสภาพถนนหนทางที่ทุรกันดาร แถมยังมีการปิดทำถนนเป็นช่วงๆ ผมติดอยู่บนถนนราว 3 ชั่วโมง ท้ายสุดไปถึงเมือง Gupis ก็มืดแล้ว เลยโดนตัดโปรแกรม Phander Lake ไปอย่างน่าเสียดาย ระหว่างทางที่จอดแวะรวมถึงติดอยู่บนถนน ก็ถ่ายรูปไปเรื่อยครับ

upf9juilfy60
b1r269ubysg4
6eai7zxa6cbw
gi0ypksqe9hz
7lfiodkq7q17

คืนนี้ผมเข้าพักที่ Blossom in Gupis ครับ

201c8nomlj28
xcdes0pvttvm

ห้องพักตกแต่งดูหรูหราทีเดียว

xaql3zqrvodd
wsqzq2amcr3n
gj9kkjo7dmll

วันที่เจ็ดของการเดินทาง : 24 ตุลาคม 2567

เช้านี้ผมออกเดินทางกันแต่เช้า เพราะวันนี้ผมต้องเดินทางกลับไปพักที่ Gilgit อีกครั้ง เช้านี้ไกด์พาแวะชม Khalti Lake กันก่อน ช่วงเช้าทะเลสาบน้ำนิ่งจนเห็นภาพเงาสะท้อนอย่างสวยงามครับ แต่มุมถ่ายรูปอาจน้อยไปสักนิด

vopa4v9ko4mx
hmvt94pjurup
5mta8th805au

เดิมทีหลังจากชมความสวยงามของ Khalti Lake แล้ว ไกด์จะพาไปชม Yasin Valley ต่อ แต่เนื่องจากเส้นทางที่จะขึ้นไปยัง Yasin Valley นั้นกำลังซ่อมแซม จึงไม่สามารถขึ้นไปเที่ยวได้ เราเลยจำเป็นต้องตัดโปรแกรมออกครับ

jm9gnrcea5qv
a0udzaohmwam
6suip89frit4
0xbjwwky5hu4
nfliftp5jp5g

ผมจอดแวะยืดเส้นยืดสาย ลงหาซื้อขนมขบเคี้ยวเพื่อเตรียมเป็นเสบียงใช้กินระหว่างเส้นทาง เพราะยังไม่รู้ชะตากรรมข้างหน้าว่าเราจะเจอแจ๊คพอตโดนปิดถนนอย่างเมื่อวานอีกหรือไม่ ระหว่างแวะซื้อของเลยขอถ่ายภาพของชาวปากีสถานไปพลางๆ ครับ

ถึงแม้ว่าชาวปากีสถานจะชอบถ่ายรูป แต่ไม่ใช่กับทุกคนนะครับ เราควรจะขออนุญาตเขาก่อนที่จะถ่ายภาพเขาทุกครั้งครับ

5yfzuwuy5r93
ua3oqva0e03z

การตกแต่งรถบรรทุกของปากีสถานเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จะไม่พูดถึงไม่ได้ครับ รถบรรทุกแต่ละคันจะถูกแต่งแต้มด้วยลวดลายที่ละเอียด งดงาม หลากหลายสีสัน นอกจากนั้นยังมีการใช้ผ้า ใช้โซ่ห้อยเป็นสาย และจุดที่โดดเด่นอีกหนึ่งจุดเห็นจะเป็นส่วนหัวด้านหน้าของรถที่จะยื่นสูงลักษณะคล้ายใส่มงกุฎ เสียดายที่รถที่ตกแต่งสวยๆ ผมไม่สามารถถ่ายได้เลย เพราะรถวิ่งอยู่บนถนน ส่วนรถที่จอดอยู่ข้างทางก็ตกแต่งแบบพื้นๆ ครับ

277mec6hj3se

เมื่อได้เสบียงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผมรีบมุ่งหน้ากลับเมือง Gilgit ทันที ระหว่างทางก็ภาวนาขออย่าให้เจอโดนปิดถนนอีกเลย แต่... โชคไม่เข้าข้างผมอีกตามเคย รอบนี้ก็ติดอยู่บนถนนร่วม 2-3 ชั่วโมงเหมือนเดิม กว่าจะถึงเมือง Gilgit ก็ค่ำมืดเลยครับ คืนนี้พักที่เดิม ที่ Indus Lodge Gilgit ครับ

วันที่แปดของการเดินทาง : 25 ตุลาคม 2567

วันนี้จุดหมายปลายทางของผมอยู่ที่ Fairy Meadows ระหว่างทางไกด์ได้พาแวะชมพระพุทธรูปคาร์กาห์ (Kargah Buddha) พระพุทธรูปหินที่แกะสลักบนหน้าผาในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 7 ลักษณะเป็นองค์พระยืนแบบนูนต่ำ สูงประมาณ 15 เมตร มีตำนานเกี่ยวกับพระพุทธรูปแกะสลักนี้ว่าบริเวณแถบนี้เคยเป็นที่อยู่ของยักษ์กินคน นาม "ยักษิณี" โดยเหล่าชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนได้ร้องขอความช่วยเหลือจากนักบวชที่ผ่านทางมา และนักบวชก็ได้ตรึงนางยักษิณีไว้ที่ก้อนหินนี้เพื่อไม่ให้สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านอีก พระพุทธรูปคาร์กาห์นับเป็นมรดกแห่งพุทธศาสนาที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในปากีสถานครับ

6q9g1054xwz3
065ifzr4go63

จากนั้นไกด์ได้พาแวะชมจุดบรรจบของ 3 เทือกเขาอย่าง Karakoram – Hindukush – Himalayan บริเวณนั้นจะมีการสร้างเป็นสัญลักษณ์ 3 แฉก โดยแต่ละแฉกจะชี้ไปทางเทือกเขาแต่ละเทือก นอกจากจะเป็นจุดบรรจบของเทือกเขาทั้ง 3 แล้ว ยังเป็นจุดเชื่อมต่อของแม่น้ำ 2 สาย คือ Gilgit และ Indus ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสินธุด้วยครับ

a66q5bs3v1yr
txg2wsptjzf3
bjxrtfblk99g

ช่วงบ่ายผมเปลี่ยนพาหนะการเดินทางจากรถมินิมัสเป็นรถจี๊บ 4x4 เพื่อขึ้นไปยัง Tato Valley รถหนึ่งคันสามารถบรรจุผู้โดยสารได้ 4 คน ผมนั่งหัวสั่นหัวคลอนอยู่ในรถประมาณ 1.30 ชม. กับระยะทางเพียง 14 กิโลเมตร สภาพเส้นทางก็เล่นเอาหวาดเสียว ซ้ายก็ผา ขวาก็เหว ทำเอาหายใจไม่ทั่วท้องไปตลอดเส้นทาง ความกว้างของถนนกว้างกว่าตัวรถนิดเดียว รถแทบจะสวนทางกันไม่ได้ ยามที่เจอรถสวนทางก็ลุ้นฉี่แทบปริบ ว่ารถจะเฉี่ยวกันไหม

bz9tkhrtv81a
4fdnhgn64i9p
09i82s2mdbp6
fp5zvarm9pm0

จากนั้นเราต้องเดิน hiking กันต่ออีกประมาณ 5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินราว 2 ชั่วโมง เพื่อขึ้นไปยัง Fairy Meadows แต่สภาพอย่างผม ‘ม้า’ คือเครื่องทุ่นแรงในการเดินครับ ใช้เวลาในการนั่งม้าราว 1.30 ชม. ก็มาถึงด้านบนของ Fairy Meadows แล้ว ค่าพาหนะทุ่นแรง ไป-กลับ อยู่ที่ $20 หรือประมาณ 5,600 รูปีปากีสถาน แต่บอกเลยว่าเป็นการเดินทางที่ตื่นเต้นและสวยงามมากๆ ครับ

43bh0c071cnv
s2bh16wqq3jt
ud2h1k1t3o7x
uxlcomm31vg3
is23iqwy0cq8

คืนนี้ผมเข้าพักที่ Raikot Sarai Fairy Meadows ครับ ที่พักแบบธรรมดา แต่วิวโดยรอบไม่ธรรมดาเลย เรียกได้ว่าเปิดประตูห้องพักมาก็ได้เห็นวิวของยอดเขานังกาปาร์บัต (Nanga Parbat) แบบใกล้แค่เอื้อมเลย อากาศด้านบนหนาวมาก และจะหนาวขึ้นไปอีกในช่วงกลางดึก ในห้องพักไม่มีฮีตเตอร์ แต่จะมีเตาฟืนไว้ให้ ผมสู้ควันของฟืนไม่ไหว เลยต้องปล่อยให้ฟืนมอดไปแล้วนอนทนหนาวใต้ผ้าห่มแทน น้ำร้อนสำหรับอาบจะต้มเป็นเวลา แถมเรายังต้องเปิดน้ำทิ้งไว้เพื่อรอให้น้ำร้อนขึ้น ไม่อย่างนั้นไม่สามารถอาบได้จริงๆ ครับ

k67zyskqi25s
8dt84hxjjmzc
ropqka0y8q9s
h4el38hx8x4m
lbkst189jewa

โดยปกติช่วงที่ผมไปจะมีหิมะปกคลุมทั่วไปหมด น้ำที่เปิดออกจากก๊อกจะแข็งเป็นน้ำแข็ง แต่เนื่องจากอากาศผิดแผกไปจากเดิม ทำให้ยังไม่มีหิมะปกคลุม ผมนึกในใจว่าโชคดีของผมมากๆ เพราะสภาพอากาศที่ผมเจอในตอนนั้นก็หนาวจนแทบอยากจะกลับลงมานอนที่พื้นราบแล้ว ปกติอากาศหนาวผมไม่หวั่นเลย แต่รอบนี้ไม่ไหวจริงๆ อาจเพราะผมเตรียมความพร้อมไม่ดีก็เป็นได้ ถุงมือ ถุงเท้า หมวกไหมพรม ถุงนอน ก็ไม่ได้เตรียมไปสักอย่างเลย

วันที่เก้าของการเดินทาง : 26 ตุลาคม 2567

ทักทายเช้าวันใหม่กับวิวยอดเขานังกาปาร์บัต และยอดเขาอื่นๆ ที่อยู่ใกล้แค่เอื้อม อากาศหนาวๆ เห็นวิวแบบนี้แล้วลืมความหนาวเลยครับ รีบหยิบกล้องไปหามุมถ่ายภาพจนเพลิน

j25tm0ok4iat
yvnswzkpxjz1

ถ่ายรูปคู่กับ Osama และ Luqman ไกด์ชาวปากีสถานไว้เป็นที่ระลึกบริเวณด้านหน้าที่พักครับ

fsks3uhy7irr

Fairy Meadows เป็นทุ่งหญ้าที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 3,300 เมตร ถูกโอบล้อมด้วยป่าเขียวแถมยังมีฉากหลังเป็นยอดเขานังกาปาร์บัต ความสวยงามของที่นี่ถูกจัดอันดับให้เป็นสถานที่ที่สวยที่สุดของโลกเป็นอันดับ 3 เลยครับ

a18lca69s1u8
51laew9wblko
ws85t5kxfjm4

หลังมื้อเช้า ผมเดินไปยังสระน้ำขนาดย่อมซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่พักนัก คนที่นี่เขาเคลมว่าเป็นทะเลสาบเล็กๆ แต่ไม่เป็นไร จะเรียกอะไรก็สุดแล้วแต่ แต่ที่แน่ๆ ภาพที่เห็นเหนือผืนน้ำสะท้อนเห็นยอดเขานังกาปาร์บัต (Nanga Parbat) ยอดเขาที่สูงเป็นอันดับ 9 ของโลก ที่มีความสูงถึง 8,126 เมตรจากระดับน้ำทะเล ยอดนังกาปาร์บัตดูขาวสะอาดเหมือนใครเอาสำลีมาแปะไว้ บรรยากาศตอนนี้คือไม่อยากไปไหนอีกแล้ว

ike47jak9oap

โปรแกรมวันนี้ ผม Hiking สู่ Biyan Camp โดยระยะทางไป-กลับ ประมาณ 12.50 กม. ใช้ระยะเวลาเดินราวๆ 4.30 ชม. การเดินตัวเปล่าผมไม่ค่อยหวั่น แต่ที่หวั่นคือเป้กล้องที่ผมสะพาย ซึ่งหนักราว 8 กิโลกรัม มันเป็นภาระต่อการ Hiking เป็นอย่างมากครับ อีกหนึ่งสิ่งที่ผมประสบคือสภาพอากาศ หากใส่เสื้อกันหนาวเดิน เหงื่อก็จะออกจนเริ่มร้อน แต่ถ้าถอดเสื้อกันหนาว มันก็หนาว เอาใจไม่ถูกกับร่างกายของผมจริงๆ

tgjebd9mk276
nevixwgsnbqq
6f6r2bshn77i
lra10jg1rfye

ผมมาพักกินมื้อกลางวันกันที่ Biyan Camp ซึ่งสามารถมองเห็นยอดเขานังกาปาร์บัตแบบใกล้แค่เอื้อมเลยครับ

oucdi93wu3n9
ve22v86xns4h
c8rwe0pri6lw
3ttir8snzv5z

จาก Biyan Camp ไกด์ได้พาเดินไปยังจุดชม Glacier อีกราวครึ่งชั่วโมง จุดนี้นับเป็นจุดที่ผมสามารถสัมผัสยอดเขานังกาปาร์บัต ยอดเขาสูงอันดับ 9 ของโลกอย่างใกล้ชิดครับ

dmr8c8sm53um
380yxbpv7n2c

'นังกาปาร์บัต' แปลว่า 'ภูเขากินเลือด (Killer Mountain)' เพราะเป็นภูเขาที่อันตรายที่สุดในบรรดายอดเขา 8,000 เมตร ว่ากันว่าในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีผู้เสียชีวิตมากมายในการพยายามที่จะพิชิตยอดเขานี้ จริงๆ แล้วใครที่ ถึก อึด ทน สามารถเดินเท้าต่อเพื่อเข้าไปยัง Nanga Parbat basecamp ได้ ซึ่งจุดนั้นจะได้สัมผัสกับยอดนังกาปาร์บัตอย่างใกล้ชิดที่สุด แต่ผมไม่สามารถแล้ว

resvfhqrjpuj
vmf49yxjyui3

หลังจากซึมซับกับบรรยากาศเบื้องหน้าเต็มอิ่มแล้ว ผมต้องรีบเดินเท้ากลับที่พัก เพราะเวลาตอนนั้นก็เกือบ 15.30 น. แล้ว ผมถึงที่พักราว 17.00 น. อาการตอนนั้นแทบจะเดินต่อไปไหนไม่ได้แล้ว ไม่ใช่ว่าปวดขา แต่ปวดล้าที่หลังจากการแบกเป้กล้องเป็นอย่างมาก ค่ำนี้กลับไปนอนซมอยู่ในห้อง ข้าวปลากินไม่ไหวจริงๆ ครับ

วันที่สิบของการเดินทาง : 27 ตุลาคม 2567

จุดหมายปลายทางของวันนี้อยู่ที่เมือง Becham ซึ่งห่างจาก Fairy Meadows ราว 330 กม. หลังอาหารเช้าเราจึงเร่งที่จะเดินทางกันให้เร็วที่สุด เพื่อจะให้ถึง Becham ไม่ดึกจนเกินไป แต่ระหว่างทางเราก็เจอการปิดถนนเพื่อซ่อมแซมอีกเช่นเคย ทำให้เสียเวลาอยู่บนถนนร่วม 2 ชั่วโมง ฟ้ามืดลงในขณะที่ผมติดอยู่ตรงจุดกักรถ การติดอยู่บนถนนในครั้งนี้ทำให้ผมได้เห็นชาวปากีสถานมาร่วมกันทำละมาดอยู่บนถนนด้วย การขับรถช่วงกลางคืนในปากีสถานถือว่าอันตรายมาก เพราะถนนเป็นแบบหินลอย ก้อนหินจากหน้าผาพร้อมหล่นลงมาที่ถนนได้ตลอดเวลา อีกทั้งถนนยังแคบด้วย หากพลาดเป็นอันจบข่าวได้กลิ้งตกไปก้นเหวแน่ๆ ระหว่างทางก็ยังมีด่านตรวจของตำรวจอยู่ตลอดทาง และเรายังเจอปัญหาใหญ่ ไกด์บอกว่าตำรวจไม่อนุญาตให้รถของนักท่องเที่ยวเดินทางในเวลากลางคืน เหตุจากเรื่องความปลอดภัย งานเข้าอย่างจัง!! แต่ด้วยความมีไหวพริบของไกด์ท้องถิ่น ประกอบกับมีสมาชิกในทริป 2 คนเกิดอุบัติเหตุกระดูกแขนหักระหว่างขึ้น Fairy Meadows (โดนม้าวิ่งมาเฉี่ยวแล้วล้มแขนกระแทกพื้น 1 คน และลื่นล้มในห้องน้ำบน Fairy Meadows 1 คน) ทำให้ไกด์แจ้งกับตำรวจว่ามีความจำเป็นต้องพาสมาชิกทั้ง 2 คนส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด และตอนนี้ได้ประสานกับสถานฑูตไทยเพื่อเตรียมส่งสมาชิกทั้ง 2 ให้กลับไปรักษาตัวที่เมืองไทยอย่างเร่งด่วน ตำรวจก็เชื่อและอำนวยความสะดวกเป็นอย่างดี จัดรถนำรถของผมไปส่งถึงจุดที่ปลอดภัย จากนั้นคนขับก็ซิ่งตะบันขับรถอย่างไม่คิดชีวิตเพื่อให้ถึงที่พักให้เร็วที่สุด คืนนี้กว่าจะได้เข้าที่พักที่ Besham Hilton Hotel ก็ปาไป 23.00 น. ครับ

i492ikcd0cso
u8yrtzdglk2m
m7uolbebbsy0

วันที่สิบเอ็ดของการเดินทาง : 28 ตุลาคม 2567

เช้านี้ผมออกเดินทางกันแต่เช้า โดยมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่เมือง Lahore ระหว่างทางผ่านเมืองตักศิลา (Taxila) ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐปันจาบของปากีสถาน เมืองนี้เหลือเพียงร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต ภายในตักศิลามีแหล่งโบราณสถานเก่าแก่มากมาย ทำให้ UNESCO ได้ประกาศให้เมืองตักศิลาเป็นมรดกโลกในปี 1980 ไกด์ได้พาแวะชมพิพิธภัณฑ์ตักศิลา (Taxila Museum) ซึ่งภายในจัดเก็บและแสดงโบราณวัตถุที่ขุดพบในเมืองโบราณตักศิลา มีทั้งเศียรพระพุทธรูป รูปสลักและรูปปั้นศิลปะคันธาระ เหรียญต่างๆ รวมถึงเศษข้าวของเครื่องใช้ครับ

a7f69g01fhvx
duseaxrlsv0w
8uzjm06b7tod
1wvwpb8e5uoa
kujah4tadrzr
jdky10qlicue
ih93zgld8ks4
c4al2ydqso3o
5w5kosdb6wnk
5jq4w70zrqcx
21o1gupanm81

เนื่องจากผมมีเวลาไม่มากนัก จึงทำได้แค่เพียงชมความเก่าแก่ของเมืองตักศิลาผ่านทางพิพิธภัณฑ์เท่านั้น แอบนึกเสียดายเหมือนกันที่ไม่มีโอกาสได้ลงไปดูโบราณสถานในพื้นที่จริงครับ

จากนั้นมุ่งหน้าสู่ Islamabad ไกด์พาแวะชมมัสยิดไฟซาล (Faisal Mosque) มัสยิดแห่งนี้เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ.1987 สร้างโดย King Faisal กษัตริย์แห่งซาอุดิอาระเบีย จึงนำพระนามของพระองค์ใช้เป็นชื่อมัสยิดนี้ โครงสร้างของมัสยิดออกแบบโดยสถาปนิกชาวตุรกีให้มีลักษณะคล้ายทรงเต็นท์ 8 เหลี่ยมของชาวเบดูอิน ภายในมัสยิดสามารถบรรจุคนได้ถึง 10,000 คน มีเสานิมาเรท 4 ต้น ขนาบสี่มุม สูงต้นละ 79 เมตร นับว่าเป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียใต้ และใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก เสียดายที่ผมมีเวลาน้อยมาก ไกด์จึงพาเดินไปยังจุดที่ถ่ายรูปที่นักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายเพียงจุดเดียว แต่ผมอาศัยความที่ขายาว รีบเดินไปหามุมจุดอื่นได้อีก 1-2 จุด แล้วรีบเดินตามไกด์เพื่อกลับไปยังรถครับ เสียดายที่สุดคือไม่มีโอกาสได้ชะโงกเข้าไปดูบรรยากาศด้านในมัสยิดเลย

rgx4qftmr77r
a81zez63d7zb
affrbtam3y5w

จุดหมายสุดท้าย ไกด์ได้พาแวะชมอนุสาวรีย์ปากีสถาน (Pakistan Monument) เป็นอนุสาวรีย์แห่งชาติและพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคีของชาวปากีสถาน ออกแบบสร้างให้เหมือนรูปกลีบดอกไม้สี่กลีบ โดยแต่ละกลีบเป็นตัวแทนของแคว้นสำคัญ 4 แคว้น อันได้แก่ แคว้นบาลูจิสถาน แคว้นสินธ์ แคว้นปัญจาบ และแคว้นไคเบอร์ปัคตูนควา โดยแต่ละกลีบสร้างขึ้นจากหินแกรนิต และสลักเป็นสถานที่สำคัญของประเทศทั้ง 4 แห่ง ได้แก่มัสยิดแบดชาฮิ ป้อมเมืองลาฮอร์ ช่องเขาไคเบอร์ และมินาร์เอปากีสถาน ใจกลางของอนุสาวรีย์จะมีประติมากรรมรูปสามเหลี่ยมที่มีฐานเป็นดาวห้าแฉกล้อมรอบด้วยน้ำที่แสดงถึงบุคคลสำคัญอย่างมูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ บิดาแห่งปากีสถาน และมูฮัมมัด อิกบาล กวีและนักปรัชญาที่มีชื่อเสียงแห่งปากีสถานครับ

yru9jmhf5rvg
vf23skkfe5ge

จากนั้นตีรถยาวมุ่งหน้าเข้าสู่เมือง Lahore กว่าจะเข้าที่พักที่ Flaties Hotel Lahore ก็ราว 23.00 น. อีกเช่นเคยครับ ที่พักคืนนี้หรูหราที่สุด พื้นที่กว้างขวาง เตียงขนาด 5 ฟุต 2 เตียง สัญญาณ wifi นี่พุ่งปี๊ดเลยครับ สภาพอากาศที่ Lahore ต่างกับช่วงต้นทริปของผมราวฟ้ากับเหว ที่นี่ไม่รู้สึกถึงความเย็นเลยครับ

07npbo8g11h9
tcsrqsjl3q8e
ygtweqhouj3p

วันที่สิบสองของการเดินทาง : 29 ตุลาคม 2567 วันสุดท้ายของการเดินทาง

เช้านี้ผมมีแผนเที่ยวใน Lahore เมืองหลวงของแคว้นปัญจาบ และเป็นมหานครที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของปากีสถานกันครับ มีภาษิตปัญจาบโบราณกล่าวไว้ว่า "ผู้ใดไม่เคยเห็นเมือง Lahore ผู้นั้นก็เหมือนยังไม่ได้เกิดมา" ในความหมายที่ว่า ความยิ่งใหญ่และงดงามของเมือง Lahore นั้ันจำเป็นต้องมาเห็นด้วยตาสักครั้งในชีวิต

จุดหมายแรกอยู่ที่ป้อมปราการลาฮอร์ (Lahore Fort) ป้อมปราการขนาดใหญ่ที่ถูกสร้างในศตวรรษที่ 11 ในยุคสมัยของราชวงศ์โมกุล เป็นสถานที่เพียงแห่งเดียวที่สามารถเห็นความแตกต่างของสถาปัตยกรรมโมกุลในแต่ละยุคของผู้ปกครองที่ได้สร้างต่อเติมป้อมลาฮอร์เป็นพระราชวังโบราณ สร้างโดยจักรพรรดิอักบาร์ (Akbar The Great) ในระหว่างปี 2099-2149 บนฐานของเชิงเทินโบราณ และได้รับการต่อเติมโดยจักรพรรดิโมกุลองค์ต่อๆ มา เช่น จะฮานกีร์และราชโอรส รวมไปถึงชาห์จะฮาน (Shah Jahan) ผู้ก่อสร้างทัชมาฮาล ป้อมปราการแห่งนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกโดย UNESCO ในปี 1981 ครับ

h3jwzt0qa6i6
zexabn358f9y
aa4npvodz9wq

คือเดินเข้าไปในป้อม ให้ความรู้สึกเหมือนเดินเที่ยวในอินเดียเลยครับ สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่คล้ายกับอินเดียทุกกระเบียดนิ้ว

uca5fh5ij96t
i7rlx33grf8u
p3a1az1sixa1
tpjk7tn9i971

อย่างห้องนี้เพดานประดับประดาด้วยกระจก เวลาที่เราจุดเทียนแล้วส่ายไปมา เพดานจะเปล่งประกายระยิบระยับคล้ายกับดวงดาว

y70w53r4d40k

ทั้งโถงห้อง ทั้งลวดลายการตกแต่ง แบบเดียวกับอินเดียเลยครับ

b1rbndjtfw7q
511krtj7b4xg
vpxoz2r2co1t
j8emnlvexyb7
04e9vekm5u1p

ไกด์โชว์ให้ดูว่าลวดลายบนเสาตกแต่งด้วยหินอ่อน ซึ่งโปร่งแสง เวลาใช้ไฟส่องจะมองเหมือนหินเปล่งแสงออกมาครับ

1uqehueugt0r
xssrue2tife8

จาก Lahore Fort มองออกไปเห็น มัสยิดบัดซาฮิ (Badshahi Mosque) ครับ

8ebkkafl6lsl
b6kots1losf0

ถ้าผมจำไม่ผิดเหมือนไกด์บอกว่าเป็นที่อาบน้ำครับ

e050joqzwf06

บรรยากาศส่วนต่างๆ ภายใน Lahore Fort ครับ

to7xoztttobh
v2454zl5zxtl
j2stga2np3ps
0prwm7jn19jg
oopc3kzln0bz

ติดกับ Lahore Fort เป็นที่ตั้งของมัสยิดบัดซาฮิ (Badshahi Mosque) หรือมัสยิดหลวง เป็นมัสยิดใหญ่นิกายซุนนี สร้างในสมัยโมกุล เริ่มก่อสร้างในปี 1671 แล้วเสร็จใสปี 1673 และเป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในโลกจนถึงปี 1986 ภายนอกประดับด้วยหินทรายแดงแกะสลักประกอบงานฝังหินอ่อน ถือเป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดของจักรวรรดิโมกุล ปัจจุบันยังเป็นมัสยิดที่ใหญ่เป็นอันดับสามในปากีสถาน ด้านหน้ามัสยิดเป็นลานกว้าง ที่จุคนได้ราว 50,000 คน มีหอสวดมนต์ที่จุคนได้ราว 2,000 คน มัสยิดแห่งนี้ได้ถูกปล่อยให้รกร้างเกือบ 100 ปี และได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่เมื่อปี พ.ศ.2503 ก่อนที่ ร.9 จะเสด็จประพาสมัสยิดแห่งนี้ในอีกสองปีต่อมาครับ

f4bxfclfgauq
50yvrn9bbtty
jgihd12hraer
scy4svewe43c
mx1d3p4vortp
6j1dh8ssiygh
5f28htaji6mi
rs4tmt3pu80d

ภายใน Badshahi Mosque สามารถมองเห็น Minar-e Pakistan หรืออนุสรณ์สถานแห่งชาติปากีสถานได้ครับ

w572skyk0h8y

มอง Main gate ของ Lahore Fort ผ่านช่องหน้าต่างครับ

0npjtbhpxgtw

ศาลาชมสวนกลางลานกว้างระหว่าง Badshahi Mosque กับป้อมปราการลาฮอร์ (Hazuri Badg) เป็นสวนแบบโมกุลครับ

bomog0q2d6v3
1pcxr068zbk6

ผมมาปิดทริปปากีสถานที่ชายแดนวากาห์ (Wagah Border) ซึ่งเป็นชายแดนปากีสถานและอินเดีย โดยในแต่ละวันช่วงสองชั่วโมงก่อนพระอาทิตย์ตกดิน จะมีพิธีวากาห์ ผมเคยดูพิธีนี้ผ่านทางทีวีมาแล้ว ไม่คิดว่าตัวเองจะได้มาอยู่ในเหตุการณ์จริงๆ ด้วย บอกเลยว่าอารมณ์เหมือนคล้ายการเชียร์ฟุตบอล ดูพิธีนี้แล้วรู้สึกฮึกเหิม มีอารมณ์ร่วมไปกับชาวปากีสถาน ถึงแม้ว่าผมไม่ได้เป็นชาวปากีสถาน แต่เมื่อผู้นำเชียร์ได้ปลุกปั่นอารมณ์ ผมรู้สึกขนลุก และมีอารมณ์คล้อยตาม จนต้องส่งเสียงตะโกนออกไปว่า "Pakistan Zindabad" ซึ่งมีความหมายว่า "ปากีสถานจงเจริญ" ครับ

i8t3s27vg72o
oa8ujn4bdwqq
4o340cqdlry4
3r79degokef2
j4uyrrvrrd29
xbce5qhqm48j
wm9oqtitzygu
czpcoqsc0vqd

พิธีวากาห์ หรือพิธีเดินเปลี่ยนเวรยามสวนสนามชายแดน Wagah-Attari ระหว่างทหารปากีสถานและทหารอินเดีย ซึ่งพิธีนี้มีมานานกว่า 80 ปีแล้ว เป็นการเชิญธงชาติลงจากยอดเสาและเปลี่ยนเวรยามของทหารทั้งสองประเทศ

ไฮไลท์ของพิธีวากาห์ คือการเตะขาของทหารให้อยู่เหนือศีรษะของตน เป็นการแสดงความห้าวหาญของเจ้าหน้าที่ที่ด่านพรมแดน อีกหนึ่งสิ่งที่ดูเตะตาผมเป็นอย่างมาก นั่นคือเครื่องแบบของทหาร โดยทหารทั้ง 2 ประเทศจะใส่หมวกที่มีลักษณะคล้ายหงอนไก่ โดยหมวกของทหารปากีสถานจะเป็นสีดำ ส่วนทหารอินเดียจะเป็นสีแดงครับ

tfhsbwpamcdx
u7hxyfgcysoo
96f3q9walaif
qm3lnbghrt3p
awcc5a5hj3uh
xqr6r1hu6geg
7o2b4lv217z4
hkidzxrgx9de
at4ee1uezfl6
0lppiz7v883q
pdqrv5t319dm
zl6s4thqujg9
zeq2kx1ot1au
ancakkth69og

หลังเสร็จสิ้นพิธี ผมมุ่งหน้าสู่สนามบิน Lahore เพื่อเดินทางกลับประเทศไทย โดยสายการบินไทยครับ มีบินตรง Lahore > BKK ทุกวัน ยกเว้นวันพุธ โดยเครื่องออกเวลา 23.45 น. มาถึงเมืองไทยเวลา 06.10 น. ใช้เวลาบินประมาณ 4 ชม.25 นาทีครับ

คำแนะนำก่อนเที่ยวปากีสถาน

1.ติดต่อซื้อทัวร์จากบริษัททัวร์ท้องถิ่นจะสะดวกสุด เราสามารถจัดโปรแกรมตามที่เราต้องการและสามารถสอบถามและต่อรองราคาจากบริษัททัวร์ได้

2.ปากีสถานฟรีวีซ่าให้กับคนไทย 90 วัน สามารถยื่นขอ e-Visa ทาง https://visa.nadra.gov.pk/tourist-visit-visas/

3. Sim Card แนะนำว่าไม่ต้องซื้อ ไม่ต้องโรมมิ่งไปครับ ส่วนใหญ่ไกด์จะปล่อย Hotspot ให้เราใช้ระหว่างเดินทาง และแต่ละสถานที่ สัญญาณอินเตอร์เน็ตมีบ้าง ไม่มีบ้างครับ

4.ระบบไฟฟ้าของเมืองท่องเที่ยวที่ไม่ใช่เมืองหลวง จะใช้การปั่นไฟ เรื่องการชาร์จไฟสำหรับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น มือถือ กล้อง อาจมีอุปสรรคบ้างในบางเมือง

5.ชาวปากีสถานไม่ได้ชอบการถูกถ่ายภาพทุกคน มีส่วนน้อยที่ไม่ชอบถ่ายรูป ควรขออนุญาตเจ้าตัวก่อนถ่ายภาพคนในพื้นที่ทุกครั้ง

6.อาหารส่วนใหญ่จะเป็นไก่ ปลา แกะ เมนูส่วนใหญ่จะกินได้ แต่หากกินหลายๆ มื้ออาจจะเบื่อได้ สามารถเตรียมน้ำพริก อาหารกระป๋องไปกินแก้เบื่ออาหารได้

7.เวลาที่ปากีสถานช้ากว่าประเทศไทย 2 ชั่วโมง

8.ปากีสถานฝุ่นเยอะมาก แนะนำเตรียม Mask ไปเยอะๆ

9. อุปกรณ์กันหนาวมีความจำเป็นมาก หากไปเที่ยวทางเหนือของปากีสถาน

10.สามารถแลกเงิน USD จากเมืองไทย แล้วไปแลกเป็นเงินรูปีปากีสถานได้กับไกด์ครับ

ความคิดเห็น