คุณเคยไป เที่ยวคนเดียวมั๊ย????? ถ้ายังไม่เคยอยากลองสักครั้งมั๊ย......จะได้รู้ว่าเป็นยังไง???? เราเป็นอีกคนที่ยังไม่เคยออกทริปคนเดียว เมื่อได้ยินคำชวนจาก ททท. ให้ร่วม โครงการ"ผู้หญิงเที่ยวไทย 2017" ชวนผู้หญิงให้ออกไปเที่ยวเมืองไทยให้มากขึ้น ทำให้ต่อมอยากลองของเราเริ่มทำงานทันที.....เที่ยวยังไงให้ Happy Healthy และนี่คือที่มาของทริปนี้ค่ะ


*******************************************************************************

ฝากติดตามผลงานเพจ FB: เที่ยวนอกบ้าน https://www.facebook.com/travelandoutdoors/

ขอบคุณสำหรับทุกไลค์และแชร์ค่ะ ^V^

******************************************************************************



07.15 น. ล้อหมุนจากกรุงเทพฯ เราใช้เวลาเดินทาง 6 ชม. มาถึงสำนักงานบ้านมะพร้าวรีสอร์ท ใครเอารถส่วนตัวมาสามารถฝากรถไว้ที่นี่ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (ข้อมูลการเดินทางโดยรถสาธารณะหรือเครื่องบิน มีท้ายรีวิวนะคะ)


มาถึงแล้ว


เรือพร้อม คนพร้อม ขนของขึ้นเรือได้เลยค่ะ


ข้อสำคัญของการโดยสารเรือคือต้องสวมเสื้อชูชีพทุกครั้ง


เรือเริ่มออก ตามธรรมเนียมก็ต้องเก็บรูปที่หัวเรือไว้เป็นที่ระลึก มาคนเดียวแบบนี้อยากได้รูปเดี่ยวทำยังไงล่ะ???? คำตอบคือ...... หาเพื่อนใหม่ค่ะ นอกจากจะได้มิตรภาพดีๆแล้ว เรายังได้ตากล้องไว้ช่วยเก็บภาพอีกด้วย .....คงไม่ดีแน่ถ้าทริปฉายเดี่ยวของเราจะมีแต่รูปวิว...ว่ามะ ^V^

(คำแนะนำสำหรับคนที่อยากถ่ายรูปสวยๆตรงหัวเรือ ให้รีบถ่ายตอนที่เรือเริ่มออกจากฝั่งนะคะ เพราะหลังจากนี้ ทั้งนางแบบและตากล้องจะไม่สามารถทรงตัวได้ค่ะ ^V^)


ใช้เวลาไม่ถึง 20 นาที เราก็มาถึงเกาะทะลุแล้วค่ะ คือใกล้มากกกกกกก



ความประทับใจแรกที่เราเจอคือ น้ำทะเลสีฟ้า สวย และใสมว๊ากกกกกกกกกก


มองลงไปเห็นก้อนหินด้านล่างแบบนี้เลยค่ะ ^O^


เห็นรีสอร์ทอยู่ข้างหน้าแล้ว "เกาะทะลุ ไอส์แลนด์ รีสอร์ท"



จุดเด่นของที่พักบนเกาะทะลุคือ " ECO" คงความเป็นธรรมชาติ เพื่อให้แขกที่มาพักรู้สึกใกล้ชิดกับธรรมชาติ เหมือนเรามาเที่ยวพักผ่อนที่บ้านญาติ ฟิลล์ประมาณนี้เลย


เกาะทะลุจะมี 2 อ่าว คือ"อ่าวมุก" กับ "อ่าวใหญ่" สะพานนี้จะเป็นจุดศูนย์กลางในการขึ้น-ลงเรือ ของทั้ง 2 อ่าวค่ะ



"อ่าวมุก"จะมีความสงบเงียบมากกว่า บรรยากาศเหมือนเรามาพักในหมู่บ้านชาวเกาะ เหมาะสำหรับคนที่ชอบความเป็นส่วนตัวมากๆ และอยากเรียนรู้วิถีชีวิตชาวเกาะ เชิญที่ฝั่งนี้ค่ะ (เครดิตภาพ: เกาะทะลุ ไอส์แลนด์ รีสอร์ท)


ส่วน "อ่าวใหญ่" จะอัพเวลความสะดวกสบายขึ้นมาอีกนิด เนื่องจากบ้านพักจะสร้างทีหลังอ่าวมุก จึงใหม่กว่า คนจะเยอะกว่าอ่าวมุก แต่ก็ยังมีความเป็นส่วนตัวสูงเมื่อเทียบกับเกาะอื่น วันที่เราไปมีนักท่องเที่ยวไม่ถึง 20 คน ถ้าไม่นับเวลาอาหาร เราก็แทบจะไม่เจอคนอื่นๆบนเกาะเลย ส่วนตัวอะไรเบอร์นี้ ชอบบบบบบบบบบบบ ^V^


เวลคัมดริงค์ของที่นี่จะเป็นน้ำผลไม้และน้ำสมุนไพรนะคะ มีน้ำส้ม กีวี่ น้ำผึ้งผสมมะนาว เลือกที่ชอบได้เลยค่ะ น้องพนักงานจะยืนรอเสิร์ฟที่ทางเข้าเลย ^V^


ในส่วนของห้องพักจะมี 2 type คือ "Thai style ocean villa" (sea view) และ "Manila deluxe" (garden view)


"Thai style ocean villa"


เป็นห้องเตียงคู่ ในห้องมีตู้เสื้อผ้า โต๊ะเครื่องแป้ง ทีวีและตู้เย็น


มีโต๊ะเล็กๆสำหรับนั่งทานอาหาร หรือไว้นั่งชมวิวจากในห้องนอน


ห้องน้ำและห้องส้วมแยกจากกัน


Amenity มีให้ครบเซ็ท


และแน่นอนสำหรับห้อง sea view จุดเด่นของห้องนี้คือ วิวทะเลที่อยู่ตรงหน้า มองมาจากบ้านพักเจอวิวแบบนี้เลย ก้าวขาเดินจากบ้านพักไม่ถึง 20 ก้าว สามารถโดดลงทะเลได้เลยค่ะ ^V^


ส่วน "Manila deluxe" จะเป็นบ้านพักที่อยู่ลดหลั่นตามไหล่เขา อาจจะโดนต้นมะพร้าวบังวิวไปบ้างถ้ามองจากบ้านพัก แต่ไม่ไกลที่จะเดินลงมาที่หาด


คืนนี้เราพักที่นี่ค่ะ "ห้อง D6"


เป็นห้องเตียงคู่


มีโต๊ะเล็กๆสำหรับนั่งพักผ่อนวางอยู่ใกล้ๆทีวี ด้านในจะเป็นตู้เย็นและตู้เสื้อผ้า


Amenity มีให้ครบเช่นกัน


ห้องน้ำและห้องส้วมแยกจากกัน



แต่ที่พีคสุดที่เราชอบคือ " ห้องอาบน้ำแบบ open" จ้า ได้ฟิลล์อาบน้ำไป.......มองจันทร์ไป อะไรประมาณนี้ ^V^


15.00 น. หลังจากจัดของเรียบร้อย เราก็เปลี่ยนชุดเพื่อจะไปทำกิจกรรมกันค่ะ


จากที่บอกตอนต้นว่าเรามาที่เกาะนี้โดยนั่งสปีดโบท เพราะพื้นส่วนนี้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทำข้อตกลงร่วมกับผู้ประกอบการท่องเที่ยวทุกบริษัท ขอความร่วมมือไม่ให้เรือโดยสารขนาดใหญ่ผ่านแนวทุ่นไข่ปลาเข้ามา เพื่อป้องกันความเสียหายแก่แนวปะการัง หากจะพานักท่องเที่ยวมาดำน้ำ ต้องจอดด้านนอกทุ่นไข่ปลาเท่านั้นค่ะ


ผลจากสึนามิเมื่อหลายปีก่อนทำให้ทะเลที่นี่พลอยได้รับผลกระทบไปด้วย วันนี้เราจึงรู้สึกยินดีที่จะได้เป็นส่วนเล็กๆส่วนหนึ่งในการร่วมอนุรักษ์ปะการัง


พร้อมแล้วไปกันเลยยยยยย


ก่อนลงมือพี่วิทยากรสุดหล่อจะให้ความรู้กับทุกคนและบอกขั้นตอนในการ "ปลูกปะการัง" ค่ะ


อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการปลูกปะการังมี

1. กิ่งปะการัง


2. ท่อพีวิซีที่เจาะรูแล้ว พร้อมน็อตยึด


3. ไขควง



จากนั้นเราจะเอากิ่งปะการังใส่ลงไปในท่อ พร้อมใช้ไขควงหมุนแค่พอแน่น ไม่ต้องให้ลึกจนเจาะทะลุกิ่งนะคะ ตอนจับต้องจับอย่างเบามือเพราะปะการังค่อนข้างเปราะ รีบทำและรีบเอาลงไปปล่อย เพราะปะการังจะอยู่ในอากาศได้ไม่เกิน 15 นาทีค่ะ


เสร็จแล้วเอามาใส่ลงใน บล็อกแบบนี้ แล้วโดดน้ำเอาบล็อกปะการังไปปล่อยตามจุดที่กำหนดไว้ได้เลยค่ะ



สภาพหลังปลูกประการังเสร็จ


16.00 น. ถึงเวลาผ่อนคลายก่อนดินเนอร์คืนนี้ ตามมาเร็วค่ะทุกคน " หลุม"เตรียมพร้อมสำหรับพวกเราแล้ววววววววววววววว


อย่าเพิ่งแปลกใจค่ะ นี่คือ "การห่มทรายบำบัด" แนะนำให้ใส่เสือผ้าน้อยชิ้น หรือผ้าที่เนื้อบางเบาที่สุดเพื่อให้ทรายได้สัมผัสกับผิวหนังเราให้มากที่สุด ศาสตร์นี้ช่วยในการคืนสมดุลเกลือแร่ในร่างกาย เมื่อเราลงไปนอนในหลุมแล้ว เจ้าหน้าที่จะเอาทรายมากลบตัวเราจนมิด


ให้หลับตาลงช้าๆ เพื่อให้สมองและร่างกายได้ผ่อนคลาย ประมาณ 15-20 นาที ความร้อนจากเม็ดทรายจะค่อยๆส่งผ่านสู่ร่างกายเรา เร่งกระบวนการสูบฉีดเลือดไปซ่อมแซมส่วนต่างๆของร่างกาย และทำให้การขับของเสียออกทางเหงื่อดีขึ้น


จากนั้นเจ้าหน้าที่จะใช้น้ำรดไปบนกองทราย เพื่อลดอุณหภูมิและปรับสมดุลให้ร่างกายได้กลับสู่ภาวะปรกติ


ลืมตาขึ้นมาแล้วเจอวิวข้างหน้าแบบนี้ .....สวยจริมๆ......


ลุกจากหลุมทรายแล้ว ไปล้างและแช่ตัวในน้ำทะเล วิธีนี้เชื่อว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนเกลือแร่ระหว่างร่างกายเรากับน้ำทะเลอีกทางหนึ่ง จากนั้นขึ้นมาดื่มน้ำสมุนไพรให้สดชื่น เป็นอันจบขั้นตอน


17.00 น. กลับมาอาบน้ำและเตรียมพร้อมสำหรับดินเนอร์คืนนี้ ทางโรงแรมจะพาเราไป "ล่องแพตก(ปลา)หมึก" กันค่ะ


มาอยู่บนเกาะแบบนี้ทรัพยากรน้ำและไฟถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นและต้องช่วยกันประหยัด เราจะเจอป้ายแบบนี้ในทุกจุดของโรงแรม (ขอความร่วมมือในการปิดน้ำทุกครั้งหลังใช้งาน ส่วนไฟฟ้าจะปิดเป็นเวลาคือรอบเช้า 09.00-11.00 น. และรอบบ่าย 13.00-15.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่แขกออกไปทำกิจกรรมค่ะ)


17.30 น. เมื่อทุกคนมาพร้อม กัปตันก็เริ่มปล่อยแพค่ะ


จุดหมายของเราคือดวงอาทิตย์ที่เห็นอยู่ลิบๆตรงโน้นนนนนนนนน


ทางโรงแรมจะเตรียมชุดบาบีคิว เตาปิ้งย่าง น้ำจิ้ม และเครื่องดื่มไว้บริการระหว่างอยู่บนแพค่ะ


ใครที่สนใจจะ "ตกหมึก" ต้องเข้ามาฟังขั้นตอนการใช้เครื่องมือและวิธีการตกหมึก ก่อนไปเลือกมุมที่ชอบเพื่อนั่งหย่อนเบ็ดค่ะ


กิจกรรมนี้ไม่ได้เป็นที่ถูกอกถูกใจของสาวๆเท่านั้น


หนุ่มๆก็ไม่น้อยหน้า


ครอบครัวนี้น่ารักมาก แข่งกันตกหมึก แต่วันนี้ดูท่าหนุ่มน้อยของเราจะมือขึ้น ตกได้หลายตัวเลยค่ะ^V^



เตาพร้อมแล้ว ปลาหมึกอยู่ไหนเอ่ยยยยยยยยยยยยย^V^


ส่วนคนที่ไม่ชอบตกหมึก ก็จะมานั่งจิบไวน์ ชมวิว ชิลล์ๆไป


บ้างก็ชวนกันชมพระอาทิตย์ตกดิน


แกงค์เพื่อนก็ชวนกันเก็บภาพเป็นที่ระลึก


เราจะบอกว่า บรรยากาศมันดีมาก ไม่ว่าจะมาปาร์ตี้เบาๆกะแกงค์เพื่อน หรือกุมมือแฟนมาสวีท


ส่วนคนที่ตกปลาหมึกได้ ตามธรรมเนียมก็ต้องถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกหน่อยค่า ^V^



และนี่คือโฉมหน้าของคนแปลกหน้า ที่สุดท้ายก็กลายมาเป็น "เพื่อนใหม่" ของเราในทริปนี้....มิตรภาพช่างงดงามจริงๆ^V^


ปลาหมึกที่ตกได้เจ้าหน้าที่จะเอามาย่าง และเสิร์ฟเติมให้เรื่อยๆค่ะ


ปาร์ตี้เบาๆยังคงดำเนินไปเรื่อยๆ จนพระอาทิตย์ลาลับขอบฟ้า


บรรยากาศรอบข้างเริ่มมืด กัปตันก็จะเบนหัวแพกลับเข้าฝั่ง เพื่อกลับไปทานอาหารเย็นชุดใหญ่ที่โรงแรมต่อค่ะ


ใครที่กลัวอ้วนมาพักที่นี่อาจจะทำใจยากนิดนึงนะคะ เพราะยกทะเลมาเต็มมาก (ภาพอาจจะมืดไปนิดนะคะ เพราะแสงน้อยจริงๆ) เป็นอีกมื้อที่ทานอาหารทะเลหนักมาก (ยกเว้นกุ้งเพราะเราแพ้ ^V^)


ใครอยากทานสเต็กสามารถสั่งเพิ่มต่างหากได้ค่ะ


ครึ่งหนึ่งของแขกที่มาพักคือนักท่องเที่ยวต่างชาติ แยกหม้อเผ็ดมากและเผ็ดน้อย ความใส่ใจเล็กๆที่น่าชื่นชมค่ะ


ปิดท้ายด้วยขนมหวาน


และบรรยากาศโดยรอบ ก่อนกลับห้องไปนอนคืนนี้ค่ะ^V^


Day 2 :

07.30 น. ตื่นเช้ามาพบท้องฟ้าสดใส บรรยากาศดีมาก



น่าชวนใครสักคนมานอนดูวิวตรงนี้เนอะ ^V^


เช้านี้เรามีนัดโยคะกับอาจารย์ที่ชายหาดค่ะ ยืดเส้นเบาๆ รับลมเย็นๆปะทะหน้า เป็นอีกหนึ่งวันของการออกกำลังกายที่สนุกมากๆ


เลยจากจุดที่เราโยคะกัน จะเป็นบ่ออนุบาลเต่ากระ ใน "โครงการปกปักษ์อนุรักษ์เต่าไทย" เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เพื่ออนุรักษ์เต่ากระซึ่งหายากและกำลังจะสูญพันธ์ไปจากประเทศไทย โดยการศึกษาและขยายพันธ์เพื่อปล่อยลงทะเลต่อไป


วิธีสังเกต เต่าตัวผู้จะมีเดือยยาว ส่วนเต่าตัวเมียจะมีเดือยที่สั้นกว่า


หัวใจหลักของการทำโครงการนี้คือ .. ช่วยให้รอด....เลี้ยงให้โต....ก่อนปล่อยลงสู่ทะเล เราสามารถเข้ามาเยี่ยมชม ถ่ายรูปอย่างใกล้ชิดได้ แต่ห้ามจับตัวเต่านะคะ เพราะสารเคมีที่หลั่งมากับเหงื่อ หรือโลชั่นที่เราใช้ อาจเป็นอันตรายกับเต่าได้ค่ะ



ส่วนบ่อนี้จะเป็นบ่อเพาะ สาหร่ายพวงองุ่น นอกจากจะเป็นอาหารที่สาวๆชอบแล้ว น้องเต่าก็ชอบเช่นกันค่ะ ^V^


ใครที่มาเที่ยวที่นี่แล้วอยากสนับสนุนโครงการนี้ สามารถร่วมบริจาคได้ที่ตู้บริเวณด้านหน้า reception นะคะ


อยากให้คนไทยร่วมกันอนุรักษ์เพื่อลูกหลานไทยวันหน้าจะได้ไม่ต้องมายืนดูเต่าสตาร์ฟแบบนี้ค่ะ


08.00 น. Breakfast time ออกจากบ่ออนุบาลเต่ากระ เราตรงไปยังห้องอาหารทันทีเพราะเริ่มหิวแล้ว ไลน์อาหารเช้าของที่นี่จะเป็นอาหารไทยแบบข้าวต้มทานกับเครื่องเคียง หรือ American Breakfast กับผลไม้และของหวานค่ะ


ห้องอาหารของที่นี่มีมุมให้เลือกนั่งหลากหลายมาก นั่งทานอาหารไป มองวิวทะเลไป


แต่เรา ชอบมุมนี้มากที่สุด วิวสวยๆแบบนี้ อาหารอร่อยขึ้นมาอีก 1 เวลเลยค่ะ ^V^

มื้อเช้าเราทานไม่ค่อยเยอะเท่าไหร่ เพราะหลังมื้อนี้ เรามีคอร์สเรียนทำอาหารต่อ ต้องแบ่งท้องไว้ชิมฝีมือตัวเองด้วยค่ะ ^V^


08.30 น. "Green Cooking Class" เป็นการปรุงอาหารโดยเน้นผัก 5 สี ( เขียว แดง ม่วง ส้ม ขาว) ซึ่งให้สาร "Phytonutrient" เป็นสารที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องได้รับจากการทานผักและผลไม้เท่านั้น

เครื่องปรุงสำหรับ 2 เมนูวันนี้ค่ะ


มีคุณป้ามาช่วยแนะนำทุกขั้นตอนในการทำ




และแล้วก็ทำสำเร็จ น่าทานมั๊ยค่ะ ^V^


09.30 น. ทำอาหารและชิมจนอิ่มแล้ว นั่งพักสักนิดก่อนไปนวดผ่อนคลายค่ะ ที่นี่เค้ามีห้องให้เลือก 2 แบบ คือ นวดในห้องแอร์


หรือจะนวดในห้องเปิดโล่งรับลมเย็นๆ แบบนี้


นอนนวดไป มองวิวสวยๆข้างหน้าไป


ชอบหนัก ชอบเบา บอกพี่เค้าได้



ฟินแค่ไหนดูจากหน้า ^V^


นวดเสร็จเรามีตัวช่วยให้ฟินขึ้นอีกเวลด้วย THANN "Time to Refresh"


เนื้อครีมเป็นเจลสีขาว แค่บีบครีมลงบนนิ้วมือ ถูครีมให้ทั่วทั้ง 2 นิ้วแล้วเอามานวดที่ขมับ เนื้อเจลเย็นๆจะซึมเข้าสู่ผิว พร้อมกลิ่นหอมอะโรมา ช่วยให้สดชื่น ผ่อนคลายมากๆเลยค่ะ ชอบบบบบบบบบบบบบบบ^V^


10.00 น. มาที่นี่นอกจากเราได้เพื่อนใหม่เป็นคนแล้ว เรายังได้เพื่อนใหม่เป็น "น้องแมว"ด้วยค่ะ น้องแมวบนเกาะน่ารักและเชื่องมากทุกตัว (ตัวซ้ายชื่อซัดดัม เมื่อคืนนอนเฝ้าหน้าห้องเราทั้งคืนเลย^V^)


ดูตัวนี้ซะก่อน บิดขี้เกียจโชว์กันเลยทีเดียว.......ทาสแมวทั้งหลายไม่ต้องเสียเงินไปค่าเฟ่แมวก็ได้นะ มาเที่ยวที่นี่รับรองฟินแน่นอนค่ะ^V^


10.30 น. ได้เวลาออกจากเกาะแล้ว บ๊ายบายน้องเหมียว......


เนื่องจากเมื่อวานโปรแกรมแน่นมากทำให้เราพลาดโปรแกรมดำน้ำตื้นดูปะการัง (แอบเสียดาย) เช้านี้ขากลับเลยขอพี่คนขับเรือพาแวะไปเก็บรูปที่เกาะทะลุก่อนค่ะ


สำหรับคนที่ชอบดำน้ำดูปะการัง เกาะทะลุเป็นอีกจุดที่มีปะการังสวยงาม และไม่ควรพลาดค่ะ ถ้าไม่พักที่เกาะสามารถซื้อ One day trip มาดำน้ำที่นี่ได้ (เครดิตภาพ: เกาะทะลุ ไอส์แลนด์ รีสอร์ท)



และอีกจุดที่อยากแนะนำคือ จุดชมวิวพระอาทิตย์ขึ้น ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 30 นาที วิวสวยแค่ไหนถามใจดู (เครดิตภาพ : เกาะทะลุ ไอส์แลนด์ รีสอร์ท)


จบไปแล้วสำหรับทริป Happy Healthy ทริปนี้.....บ๊ายบาย "เกาะทะลุ".......


  • Happy ที่ได้ชนะใจตัวเอง กล้าออกเดินทางคนเดียว
  • Happy ที่ได้เจอเพื่อนใหม่ๆ มิตรภาพดีๆ
  • Happy ที่ได้มาเที่ยวทะเลสวยๆ น้ำทะเลใสๆ แถมอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพ
  • Happy ที่ได้ทำร่วมทำกิจกรรมเชิงอนุรักษ์ อย่างน้อย 2 มือเล็กๆของเรา ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้โลกน่าอยู่ขึ้น
  • Happy ที่ได้มีช่วงเวลาดีๆในความทรงจำ (เราประทับใจบรรยากาศตอนพระอาทิตย์ตกดินมาก ปรกติมักไม่ค่อยมีดวงกับพระอาทิตย์ เจอฟ้าปิดตลอด)
  • Healthy กับกิจกรรม ห่มทรายบำบัด โยคะริมหาด และนวดผ่อนคลาย
  • Healthy กับคอร์สทำอาหาร ได้เรียนรู้เมนูสุขภาพง่ายๆที่เอากลับไปทำเองที่บ้านได้

เกาะทะลุเป็นอีกที่ที่อยากชวนสาวๆให้ออกมาเที่ยวกันค่ะ ออกมา Happy Healthy ด้วยกันนะคะ ^V^


*************************************************************************************************

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการเดินทาง:

  • รถประจำทาง : ให้ขึ้นรถทัวร์สายใต้ของ บริษัทบางสะพานทัวร์ เลือกเที่ยวรถที่จะผ่านบางสะพานน้อย แล้วแจ้งเจ้าหน้าที่บนรถว่าขอลงที่บ้านมะพร้าวรีสอร์ท แล้วเดินเข้ามายังจุดขึ้นเรือได้เลยค่ะ
  • รถไฟ : ลงสถานีปลายทาง "บางสะพาน" หรือ "บางสะพานน้อย" แล้วเรียกรถรับจ้างมาส่งที่ท่าเรือเกาะทะลุ บ้านมะพร้าวรีสรอ์ทค่ะ
  • เครื่องบิน : สนามบินที่ใกล้ที่สุดคือ "ชุมพร" แล้วเรียกรถรับจ้างมาส่งที่ท่าเรือเกาะทะลุ บ้านมะพร้าวรีสรอ์ทค่ะ
  • เรือเที่ยวแรกออก 10.00 น. ควรถึงก่อนอย่างน้อย 30 นาที
  • จุดนั่งรอเรือจะมีบริการ ชา กาแฟ น้ำดื่ม และขนม ไว้บริการฟรีค่ะ

*************************************************************************************************

ใครสนใจ package ผู้หญิงเที่ยวไทย 2017 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.traveligo.com เลยค่า

สำหรับ One day trip สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม บริษัท สาริกา ทราเวล จำกัด โทร.032-442- 636 ค่ะ

*************************************************************************************************

ความคิดเห็น