ir53zv48hjo7

หลังจากดวงตะวันขึ้นมาทายทัก ผมก็เดินแบกเป้ออกจากที่พักสู่จัตุรัสหนุมาน ซึ่งเป็นที่จำหน่ายตั๋วรถประจำทางสู่โจดปู้ร์ แต่ด้วยความเข้าใจผิดคิดว่ารถจะออกจากที่นี่ ทำให้ผมหลงนั่งรออย่างใจเย็นจนเกือบจะตกรถ ดีที่พนักงานขายตั๋วมาสะกิดว่า “นายๆรถไปโจดปู้ร์ต้องไปขึ้นที่ Air Force Circle Bus Stand ซึ่งอยู่ห่างออกไปราว 1 กม. นะจ๊ะนายจ๋า” เอาหละสิ งานนี้ได้ลุ้นแข่งกับเวลาจนตัวโก่งกันอีกแล้ว

6wh4oxny4ee7

จากไจซาลเมอร์ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกสุดของรัฐราชสถาน ในเวลานี้ผมกำลังเดินทางย้อนกลับเข้ามาทางตะวันออกสู่โจดปู้ร์ (Jodhpur) หรือที่คนไทยเรียกกันว่า โยธปุระ

eyjgoohit4b9

หลังจากผ่านเขตชุมชนท่ามกลางทะเลทรายหลายแห่ง เมื่อเข็มนาฬิกาเคลื่อนผ่านเวลาเที่ยง รถบัสก็จอดสนิทเพื่อส่งผู้โดยสารที่ไหนสักแห่งในเมืองโจดปู้ร์ ดูจากสภาพบ้านเรือนแล้ว ย่านนี้ไม่ใช่เขตเมืองเก่าแน่นอน เพราะไม่เห็นแม้แต่เงาของป้อมเมห์รังการ์ ที่แสนอลังการ จนกล่าวกันว่า ไม่ว่าจะอยู่ ณ มุมไหนของเมืองโจดปู้ร์ต้องเห็นป้อมแห่งนี้ งานนี้จึงต้องใช้บริการออโต้ริกซอว์เพื่อพาไปส่งในเขตเมืองเก่าด้วยราคาที่แสนเป็นมิตรกับนักท่องโลกที่ 30 รูปี

lci5pfnuuqwq

ท่ามกลางความจอแจของตลาดซาร์ดาร์ (Sardar Market) อันเป็นจุดศูนย์กลางเมืองโจดปู้ร์ คนขับออโต้ริกซอว์จอดส่งผมที่หน้า Heaven Guesthouse ที่พักราคาประหยัดและอยู่ใกล้ป้อมเมห์รังการ์แค่เอื้อม เพราะเพียงแค่ขึ้นไปที่ห้องอาหารบนดาดฟ้า ก็ได้สบตากับป้อมเมห์รังการ์แบบสนิทชิดใกล้

ytfxw9e8rfte

แต่ไม่ไหวแล้ว ท้องไส้ร้องโอ๊กอ๊าก เพราะตั้งแต่เช้ายังไม่มีอาหารตกถึงท้องเลย ผมจึงตรงเข้าไปสั่ง Dal Makhani หรือข้าวพร้อมด้วยแกงถั่วชนิดหนึ่งที่รสชาติจัดจ้านมากๆ กินไปชมป้อมเมห์รังการ์ไป พร้อมกับบอกตัวเองว่า อีกไม่ถึงชั่วโมง ผมจะพาตัวเองขึ้นไปอยู่บนนั้น

34ntoyp7g93y

f80jvr7scw0k

cjtwh2sc8jsh

พ้นจากเส้นทางที่ซอกแซกไปตามตรอกซอกซอยของตลาดซาร์ดาร์ เส้นทางก็เปลี่ยนเป็นการไต่ระดับขึ้นไปตามความลาดชั้นของบันไดที่ลัดเลาะไปตามเนินเขาสูง 122 เมตรอันมีป้อมเมห์รังการ์ (Mehrangarh) ตั้งอยู่ปลายทาง แม้จะบอกตัวเองว่ายังหนุ่มแน่นที่ไม่ยี่หระกับความชันเช่นนี้ แต่ผมก็แอบหยุดพักอยู่หลายครั้ง โดยมีข้ออ้างกับตัวเองว่าเดินบ้างหยุดบ้างเพื่อจะได้ชมทิวทัศน์ของเมืองโจดปู้ร์ที่ค่อยๆเผยโฉมให้เห็น

unb7075w8vka

ryll5yir4ogs

บ้านเรือนเบื้องล่างนั้นสร้างอย่างหนาแน่นจนสุดลูกหูลูกตา โดยมีความโดดเด่นที่เหล่าบ้านเรือนล้วนทาบ้านด้วยสีฟ้าอันเป็นสีของพราหมณ์ แต่ในยุคสมัยนี้ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในวรรณะพราหมณ์ก็สามารถทาสีฟ้าได้ เพราะเชื่อกันว่าสีฟ้านั้นสามารถกันความร้อนและแมลง ชาวเมืองจึงพากันทาบ้านเป็นสีฟ้ากันทั้งเมือง จนเป็นเหตุให้โจดปู้ร์ได้รับฉายาว่าเมืองสีฟ้า

qfsnitsmjf02

แล้วกำแพงขนาดมหึมาของป้อมเมห์รังการ์ก็ตั้งตระหง่านอยู่เบื้องหน้า จนผมต้องแหงนคอตั้งบ่าเพื่อมองหอคอยที่ตั้งอยู่บนสุดของป้อมปราการ ซึ่งสร้างขึ้นในยุคสมัยที่โจดปู้ร์ยังมีชื่อว่า อาณาจักรมาร์วาร์ (Marwar) โดยมหาราชา Rao Jodha ในปีพ.ศ.2002

ylg42inwq8sg

7xdrmjyfc1bu

e9k0ulcw534h

หลังจากจ่ายค่าเข้า 300 รูปี ผมก็ได้ Audio Guide มาเป็นเพื่อนที่คอยอธิบายประวัติศาสตร์ตามจุดต่างๆ แต่ผมยังไปไหนไม่ได้ไกลก็ได้ยินเสียงแจ๋วๆเป็นภาษาไทย ฟังแล้วคุ้นหูชะมัด แล้วคำว่าโลกกลมก็เกิดขึ้นกับผม เพราะเสียงที่ได้ยินนั้นคือเสียงสนทนาของสองสาวจุ๊กับเบสท์นั่นเอง เธอสองคนดีใจจนแทบกระโดดกอดที่ได้เห็นผม พร้อมกับเล่าว่าหลังจากแยกกันที่ไจปู้ร์เธอสองคนก็ไม่ได้ไปไหนไกล โดยป้วนเปี้ยนอยู่ในไจปู้ร์ต่ออีกวัน จากนั้นก็มาป้วนเปี้ยนต่อที่นี่ เราทักทายกันพอหอมปากหอมคอก่อนที่จะนัดหมายว่าหลังจากที่ผมเข้าชมป้อมเสร็จจะไปเดินเล่นที่ตลาดซาร์ดาร์ด้วยกัน โดยที่ต่างก็ไม่คิดว่า ครั้งนี้คือครั้งสุดท้ายที่ได้เจอกัน

eiza1vqv7f8a

dmxkv9n0axpp

จากซุ้มประตูทางเข้าที่สูงใหญ่ของป้อมเมห์รังการ์ เส้นทางที่พาดผ่านเป็นทางลาดเอียงเพื่อให้นักรบสามารถควบม้าศึกผ่านประตูชัยเพื่อเข้าสู่ป้อมปราการด้านใน ซึ่งในอดีตอาณาจักรมาร์วาร์ยังมีการทำสงครามกับอาณาจักรต่างๆในดินแดนราชสถาน ป้อมปราการแห่งนี้จึงสร้างประตูซ้อนกันหลายชั้นกว่าจะถึงพระราชวังที่ซ่อนอยู่ภายใน

zhi6h14z9guc

e172zkiu46hy

s5cvevb73q4z

แล้วผมก็เดินมาถึงซุ้มประตูโลฮา (Loha Pol) ไม่ใช่เป็นแค่เพียงซุ้มประตูสุดท้ายก่อนที่จะเข้าเขตพระราชวัง หากแต่สองฟากของซุ้มประตูแห่งนี้ปรากฏรอยพิมพ์มือบนแผ่นศิลาสีส้ม ชวนให้พิศวงยิ่งนัก แต่งานนี้ Audio Guide ช่วยได้ โดยอธิบายประวัติของรอยพิมพ์มือเหล่านี้ จนผมถึงกับขนลุกกับสิ่งที่ได้ยิน

2ksn43jzkv1j

wnuxsjsvb2e5

รอยพิมพ์มือเหล่านี้เกิดจากความกล้าหาญของเหล่ามเหสีทั้ง 15 คนของมหาราชาผู้ปกครองเมืองโจดปู้ร์ ที่พร้อมใจพิมพ์รอยมือก่อนที่จะกระโดดเข้ากองไฟที่เผาพระศพของมหาราชา ในปีพ.ศ.2386 ตามประเพณีสะติ (Sati) ในศาสนาฮินดู ซึ่งระบุให้ภรรยากระโดดกองไฟตายตามสามี โชคดีที่ปัจจุบันได้ยกเลิกประเพณีนี้ไปแล้ว มิเช่นนั้นอาจมีรอยพิมพ์มือมากกว่าที่ปรากฏให้เห็น

lboffoowao1c

พระราชวังโจดปู้ร์ที่ซ่อนอยู่ภายในนั้นมีความยิ่งใหญ่ไม่แพ้ป้อมปราการ โดยพระตำหนักที่งดงามที่สุดเห็นจะเป็นพูลมาฮาล (Phool Mahal) อันมีความหมายว่า พระตำหนักแห่งมวลดอกไม้ สร้างขึ้นสำหรับมหาราชาใช้ชมการแสดงดนตรี โดยตกแต่งด้วยทองพร้อมด้วยลายเส้นดอกไม้และกระจกสี นอกจากนี้ภายในพระราชวังยังแบ่งเป็นห้องต่างๆมากมาย ปัจจุบันห้องที่งดงามเหล่านั้นได้ถูกแปรสภาพเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเครื่องใช้ของมหาราชาที่ทรงคุณค่ายิ่ง

5la951imn733

e8jxklo619gx

e65c9b8odx6v

tkbispy4zut6


ผมเดินชมเครื่องใช้ที่เลอค่าของมหาราชาจนเกิดกิเลส จึงเปลี่ยนอารมณ์มายืนชมการสาธิตโพกผ้าแบบชาวราชสถานที่ลานสริงการ์ (Shringar Chowk) หน้าพระราชวัง ซึ่งผู้สาธิตสามารถม้วนผ้าที่ยาวร่วม 10 เมตรไว้บนศีรษะได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยอีกทั้งยังรวดเร็วจนน่าทึ่ง 

dsf9l3fdvvyc

aerr913zl7l5

o2fs8yt8shcw


ว่ากันว่ารูปแบบการโพกผ้านี้ สามารถบอกข้อมูลของผู้โพกได้หลายอย่าง ทั้งลัทธิศาสนา ชั้นวรรณะ อีกทั้งการดำรงชีวิตอยู่ในแผ่นดินกึ่งทะเลทรายเช่นนี้ ผ้าที่โพกบนศีรษะนั้นมีประโยชน์เหลือหลายไม่ต่างจากผ้าขาวม้าบ้านเรา ทั้งป้องกันแดด ฝุ่นทราย อีกทั้งยังสามารถเก็บซ่อนเงิน ทองและของมีค่า หรือหากพบคนที่ถูกชะตาจนสาบานเป็นพี่น้องกัน ก็ใช้ผ้าโพกนี่แหละแลกกัน ไม่ต้องกีดเลือดสาบานให้เจ็บตัว จนสุดท้ายหากเกิดการต่อสู้และเพลี่ยงพล้ำจนต้องยอมแพ้ ก็สามารถคลายผ้าโพกแล้ววางแนบเท้า เป็นการส่งสัญญาณที่ไม่ต่างจากการยกธงขาว 

zltk7lwu2kt2

bb1n712smqcs

qvmlv4btjtdz


แม้นั่งดูการโพกผ้าเสียหลายรอบผมก็คงไม่สามารถโพกผ้าได้เหมือนชาวราชสถาน จึงบอกตัวเองว่ากลับไปเอาผ้าขาวม้าคาดเอวจะง่ายกว่า ว่าแล้วจึงออกจากป้อมปราการมายืนรอน้องจุ๊กับน้องเบสท์ที่หน้าประตูทางเข้า แต่รอแล้วรอเล่าก็ไม่เห็นมีวี่แววว่าสองสาวจะมา โดยผมมารู้ทีหลังเมื่อกลับถึงเมืองไทยว่า เพราะความเข้าใจที่คาดเคลื่อนเราจึงไม่ได้เจอกันตามที่นัด โดยเธอสองคนไม่ได้รอผมที่ประตูทางเข้า แต่นั่งรอในที่ที่เราเจอกันจวบจนพระอาทิตย์หายลับไปจากขอบฟ้า

07rmg5kxus15

o4gzc95f3i0x

ความคิดเห็น