คนขับแท็กซี่พาเราข้ามแม่น้ำไนล์กลับสู่ฟากตะวันออกของสายน้ำ ซึ่งเป็นที่ตั้งของตัวเมืองลักซอร์ ทันทีที่เห็นร้าน KFC เราก็ให้คนขับจอด คนขับบอกว่าให้เราซื้อใส่ถุงแล้วนำขึ้นมากินในรถ แต่ด้วยเหตุที่คนขับขัดใจเราก่อนด้วยการไม่ยอมจอดในสถานที่ที่เราบอก เราจึงขอขัดใจบ้าง ด้วยกันนั่งกินไก่ทอดในร้านอย่างสบายอารมณ์จนอิ่ม เมื่อกลับขึ้นรถ คนขับอารมณ์เสียใหญ่ว่ารอเรานานมาก ทำไมไม่ซื้อใส่ถุง แต่พอเราส่งไก่ทอดให้ 1 ชิ้นก็ดูอาการจะสงบลง

v5hnw15g5d91

ในเขตตัวเมืองลักซอร์หรืออดีตคือราชธานีนามว่า ธีบส์ นี้ มีวิหารขนาดใหญ่ 2 แห่ง คือ วิหารลักซอร์ ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมือง กับวิหารคาร์นัค ซึ่งอยู่ทางเหนือของตัวเมือง คนขับไม่ถามเราว่าต้องการไปวิหารไหนก่อน โดยเลือกขับผ่านตัวเมืองแล้วตรงไปวิหารคาร์นัคทันที ทั้งๆที่ผมคิดว่าน่าจะไปวิหารลักซอร์ก่อน เพราะการชมวิหารคาร์นัคซึ่งเป็นวิหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศอียิปต์ก่อน จะทำให้การชมวิหารลัคซอร์ด้อยค่าลง

l7ayp9xpln6j
awx7jmu1u7kh

วิหารคาร์นัค (Temple of Karnak) เดิมวิหารแห่งนี้น่าจะมีชื่อว่า อิเพท อิซุต (Ipet – isut) ส่วนชื่อคาร์นัคนั้นเรียกตามชื่อหมู่บ้านในปัจจุบัน วิหารแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่เทพอะมอนรา เทพเจ้าประจำเมืองธีบส์ โดยฟาโรห์เซซอสตริสที่ 1 แห่งราชวงศ์ที่ 12 เมื่อราว 1991 ปีก่อนคริสตกาล และมีการสร้างต่อเติมและบูรณะมาอย่างต่อเนื่องโดยฟาโรห์ในสมัยต่างๆ จนกลายเป็นวิหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอียิปต์ และเป็นสิ่งก่อสร้างยุคโบราณที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากมหาพีระมิดแห่งกีซ่า

426rtm4hge92
dbmg309i1h6k

ภายในพื้นที่กว้างใหญ่ของวิหารคาร์นัคสร้างเป็นไพลอน (Pylon) หรือกำแพงซ้อนกันถึง 6 ชั้น พื้นที่ระหว่างกำแพงแต่ละชั้นมากไปด้วยสิ่งก่อสร้าง เริ่มตั้งแต่ทางเข้าเป็นรูปปั้นสฟิงซ์ตั้งเรียงรายเป็นสิบๆตัว ซึ่งนอกจากสฟิงซ์ที่มีหัวสิงโตแบบที่คุ้นตาแล้ว ยังมีสฟิงซ์ที่มีหัวเป็นแกะด้วย นี่แค่ทางเดินเข้าก็อลังการกว่าทุกวิหารที่ได้ไปเยือนแล้ว จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ภายในวิหารจะยิ่งใหญ่อลังการขนาดไหน

cyu0rc75xhfk
xpxxhhi7pxpw

เราเดินผ่านกำแพงชั้นที่ 1 สู่พื้นที่ด้านใน ไม่ว่าจะหันมองไปทางไหนก็เห็นแต่สิ่งก่อสร้างใหญ่โตทั้งนั้น จนทำให้แต่ละคนต่างแยกย้ายกระจายตัวไปตามมุมต่างๆของวิหารตามความสนใจที่ต่างกัน

do5bwfbykbyn
hf9hh38fzdqx

หลังกำแพงชั้นที่ 1 มีวิหารขนาดเล็กอีก 2 หลัง ทางซ้ายมือเป็นวิหารของฟาโรห์เซติที่ 2 ในราชวงศ์ที่ 19 เพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ ประกอบด้วย เทพอมุน เทพีมุต และเทพคอนซู ซึ่งเทพเจ้า 3 องค์แห่งเมืองธีบส์นี้เกี่ยวข้องกับถนนสายสฟิงซ์ที่อยู่หน้าทางเข้าวิหารคาร์นัค เพราะในอดีตถนนสฟิงซ์นี้ยิ่งใหญ่อลังการกว่าที่เห็นในปัจจุบันยิ่งนัก โดยเคยทอดยาวถึง 2.5 กิโลเมตร เชื่อมวิหารคาร์นัคกับวิหารลักซอร์ เพื่อใช้เคลื่อนขบวนเรือศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งอัญเชิญเทพเจ้า 3 องค์ แห่งเมืองธีบส์จากวิหารคาร์นัตไปยังวิหารลักซอร์ ในพระราชพิธีโอเป็ต

d7gmk6m4ua59
695j9q4eymwu

สำหรับพื้นที่ฝั่งขวาหลังกำแพงชั้นที่ 1 เป็นอีก 1 วิหาร ที่สร้างโดยฟาโรห์รามเสสที่ 3 แห่งราชวงศ์ที่ 20 จุดเด่นของวิหารนี้อยู่ที่รูปปั้นจำนวนมากของฟาโรห์รามเสสที่ 3 ขนาดความสูงราว 6 เมตร ในท่ายืนเอาแขนสองข้างประสานกันไว้ที่หน้าอก อันเป็นท่าของเทพโอซิริส

wpkm4j4vbkt2
ykaueltx1q5n

ดูเหมือนไม่ว่าเราจะเดินทางไปไหนตั้งแต่เหนือจรดใต้ของดินแดนอียิปต์ ก็หนีไม่พ้นสายพระเนตรของฟาโรห์รามเสสที่ 2 มหาราชอันดับหนึ่งของอียิปต์โบราณ เพราะทันทีที่ก้าวผ่านกำแพงชั้นที่ 2 ซึ่งสร้างโดยฟาโรห์รามเสสที่ 2 พื้นที่ภายในวิหารแห่งนี้ก็เต็มไปด้วยรูปปั้นขนาดใหญ่ของพระองค์ทั้งในท่านั่งและท่ายืนเยอะเต็มไปหมด 

ezqvl9bgqste
8lod8xzi6ccs

ท่านั่งนั้นมีลักษณะเดียวกับที่วิหารอาบูซิมเบล สำหรับท่ายืนมีทั้งแบบเอามือประสานกันที่หน้าอก กับเอามือกับแขนปล่อยลงที่ข้างลำตัว โดยมีขาซ้ายก้าวไปข้างหน้า จนไม่ว่าจะเดินไปทางไหนก็เห็นสายพระเนตรจากบรรดารูปปั้นมองดูอยู่ตลอดเวลา และหากจะดูว่าเป็นรูปปั้นของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ของแท้หรือไม่ ให้ดูที่ด้านล่าง เพราะจะมีรูปปั้นขนาดเล็กของราชินีเนเฟอร์ตารี มเหสีอันเป็นที่รักอยู่ด้วยเสมอ

har09jao0zws

วิหารคาร์นัคนอกจากเป็นวิหารที่ใหญ่ที่สุด มีกำแพงมากที่สุดในอียิปต์แล้ว วิหารแห่งนี้ยังมีเสามากที่สุดด้วย ซึ่งเฉพาะโถงเสาไฮโปสไตล์ (Hypostyle Hall) ก็มีเสาหินขนาดใหญ่ถึง 134 ต้นตั้งเรียงรายจนลายตา เสาเหล่านี้สร้างขึ้นในสมัยฟาโรห์เซติที่ 1 แต่มาเสร็จสมบูรณ์ในสมัยฟาโรห์รามเสสที่ 2 เมื่อ 1225 ปีก่อนคริสตกาล โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างเพื่อให้เป็นตัวแทนของเหล่าต้นปาปิรุสและดอกบัวที่โผล่พ้นขึ้นมาจากโคลนตม ตามตำนานความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณเรื่องการสร้างโลก พื้นผิวเสาแต่ละต้นนั้นมากไปด้วยการสลักรูปฟาโรห์ เทพเจ้า และอักษรภาพฮีโรกลีฟิค ยิ่งเวลาที่แสงตะวันยามบ่ายลอดเสามาสาดส่องทอแสงเช่นนี้ เสาหินแต่ละต้นจึงดูงดงามประหนึ่งฉาบทองคำไว้อย่างตระการตา

a2jqio9tg2cr
wk50knlq1wxq

พูดถึงเสาแล้ว ในวิหารคาร์นัคยังมีเสาโอเบลิสก์ต้นสูงใหญ่พุ่งทยานสู่ท้องฟ้าถึง 2 ต้น ซึ่งสร้างและลำเลียงมาจากเมืองอัสวาน โดยฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 1 ซึ่งไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของวิหารคาร์นัค ก็ต้องเห็นยอดของเสาโอเบลิสก์ไม่ต้นใดก็ต้นหนึ่ง

m1qy15y6tff2
cvg3mbwsnzer

ผมเดินชมบรรดาสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่โตภายในวิหารคาร์นัคจนเพลิน มารู้ตัวอีกทีก็เดินจนถึงกำแพงชั้นที่ 6 ผมเดินต่อไปยังด้านหลัง จึงพบว่ามีซากปรักหักพังของวิหารกองอยู่จำนวนมาก ซึ่งรอการบูรณะ เวลานี้จึงได้แต่นึกว่า หากย้อนเวลาได้ แล้วได้มายืนอยู่ในห้วงเวลาที่วิหารแห่งนี้ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ความรู้สึกนั้นจะยิ่งใหญ่สักเพียงใด

2lr9di0cn8nx
id8gps804e6m

การเดินออกจากวิหาร ผมเลือกที่จะไม่เดินย้อนทางเดิม แต่เลือกที่จะเดินลัดเลาะไปด้านข้างแทน บริเวณนี้มีบึงน้ำขนาดใหญ่ ในอดีตคือทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์ที่มีมาตั้งแต่การสร้างวิหารคาร์นัค และที่ริมทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์นี่เอง มีเสาโอเบลิสก์อีก 1 ต้น แต่ไม่ได้ตั้งสูงเสียดฟ้า โดยวางนอนลงกับพื้นในสภาพที่แตกหัก ซึ่งตำนานระบุว่าเสาต้นนี้สร้างขึ้นโดยพระราชบัญชาของฟาโรห์หญิงฮัตเชปซุต น่าเสียดายที่เสาต้นนี้พังลงตามกาลเวลา วิหารคาร์นัคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอาณาจักรอียิปต์โบราณแห่งนี้จึงเป็นที่รวมผลงานของเหล่าฟาโรห์ร่วมร้อยคน

e2hjrs9k4i7b
icl9zqrunf25
ความคิดเห็น